ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลคอนสวรรค์
คำสำคัญ:
การรับรู้อุปสรรค, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 137 คน ที่มาตรวจรักษาที่คลินิกโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตามกรอบแนวคิดของการวิจัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นภายในโดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน และหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.77 และ 0.68 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง คือ เพศหญิง (p < 0.001) ความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 4 ขึ้นไป (p = 0.019) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคไตเรื้อรัง (p < 0.001) โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: เท็ก แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.
กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคอนสวรรค์. ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ ในช่วงปี 2559-2561 [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: โรงพยาบาล; 2562.
โรจกร ลือมงคล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลคอนสวรรค์. การประชุมนำเสนอผลงานวิชาการ HACC FORUM ครั้งที่ 13 ‘‘Enhancing Trust Healthcare’’; 15 พฤศจิกายน 2562; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; นครราชสีมา.
Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs 1974; 2(4): 328-335.
สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์: แนวทางการดำเนินงานในงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา 2550: 30(105); 1-15.
Green SB. How many subjects does it take to do a regression analysis. Multivariate Behavioral research 1991; 26(3): 499-510.
Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook of formation and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
ชณิตา สุริอาจ, ปรีย์กมล รัชนกุล, วนลดา ทองใบ. การรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพของผู้ต้องขังที่มีความผิดปกติทางเมตาบอลิก. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557; 20(3): 372-387.
Chriss PM, Sheposh J, Carlson B, et al. Predictors of successful heart failure self-care maintenance in the first three months after hospitalization. Heart and Lung 2004; 33(6); 345-353.
ภทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10(2): 44-54.
สุปราณี กิติพิมพ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อรวมน ศรียุกตศุทธ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรกและระยะปานกลาง. วารสารพยาบาล 2556; 62(4): 35-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว