กลไกและความร่วมมือการจัดการความเสี่ยง กรณีคนจมน้ำตาย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เจริญชัย คำแฝง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  • จีระนันท์ คำแฝง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

กลไก, ความร่วมมือ, ความเสี่ยง, จมน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา คนจมน้ำตายในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษากลไกและความร่วมมือการจัดการความเสี่ยงคนจมน้ำตาย 3) ประเมินผลกลไกและความร่วมมือการจัดการความเสี่ยงคนจมน้ำตาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ญาติของคนที่จมน้ำตาย จำนวน 28 คน ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 272 คน และผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครูและตำรวจ จำนวน 44 คน ดำเนินการวิจัย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย 1) ด้านสภาพปัญหาคนจมน้ำตาย พบว่า คนจมน้ำตายทำให้สูญเสียสมาชิกและครอบครัวเกิดความวิตกกังวล 2) ด้านกลไกและความร่วมมือการจัดการความเสี่ยงคนจมน้ำตาย  พบว่าโครงการที่ดำเนินการ ได้แก่ โครงการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือคนจมน้ำ, โครงการแข่งขันว่ายน้ำของประชาชนและโครงการจัดทำป้าย กฎ ระเบียบการป้องกันจมน้ำ 3) ประเมินผลกลไกและความร่วมมือการจัดการความเสี่ยงคนจมน้ำตาย พบว่า หลังเข้าโครงการค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ผลดีจากการปฏิบัติ การรับรู้อุปสรรคและความรู้การป้องกันคนจมน้ำตายสูงกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบจำนวนคนเสียชีวิตระหว่างก่อนดำเนินงานโครงการกับหลังดำเนินงานโครงการพบว่า ก่อนดำเนินงานโครงการมีคนเสียชีวิตจำนวน 4 ราย หลังดำเนินงานโครงการไม่มีคนจมน้ำตาย  ดังนั้นรัฐควรส่งเสริมให้ความรู้การป้องกันคนจมน้ำตายแก่ประชาชน

References

สันต์ ใจยอดศิลป์ และปริญญา คุณาวุฒิ. การช่วยชีวิตสูงในผู้ใหญ่ ACLS 2005. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย;2551.

Brenner RA,Trumble AC, Smith GS, Kesslers EP, Oerpeek MD. Where children drown United states 1995. Pediarics.2001;10(1):85 – 89.

Cass DT, Ross F, Lam LT. Childhood drowning in New South Wales 1990 – 1995: a population –based study. The Medical Journal of Australia. 1996; 16(3):610– 612.

Blum C, Shield J. Toddler drowning in domestic swimming pools. Injury Prevention. 2000; 6(1): 288 – 299.

ชัยนันต์ บุตรกาล และจรรยา อุปมัย. จมน้ำ ภัยอันตรายเด็กรุ่นใหม่ ชายแดนอีสานลุ่มน้ำโขงชีมูล. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. 2558; 8(1): 8-11.

เกศรา แสนศิริทวีสุข และ วิภาภรณ์ เหมไพศาลพิพัฒน์. สาเหตุนำของการจมน้ำในเด็กที่เสียชีวิต จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2543 – 2546. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2548;14(3):57 -65.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน.สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน ประจำปีงบประมาณ 2559. จังหวัดอุบลราชธานี: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์และพัฒนา เทคโนโลยี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน;2559.

Yamane,T. Statistics; An Introductory Analysis. N.Y:Harper and Row;1967.

Kemmis,S.&McTaggart,R. The action research planner. Geelong:Deakin university Press; 1988.

ปัญญา จิรมหาศาล และคณะ. การประเมินสถานการณ์และสาเหตุการจมน้ำเสียชีวิต อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2555. [ม.ป.ท.:ม.ป.พ.];2555.

สุชาดา เกิดมงคลการ และส้ม เอกเฉลิมเกียรติ. สถานการณ์การจมน้ำของเด็กไทย ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2558;46(2):25-27.

อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. สถานการณ์การจมน้ำในประเทศไทยและมาตรการแก้ไข. [ม.ป.ท.]:ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี;2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15