รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคสุกใสเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2563

ผู้แต่ง

  • ปภาดา วิจิตรปภาวิรัช โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

โรคสุกใส

บทคัดย่อ

วันที่ 8 มกราคม 2563 กลุ่มงานอาชีวอนามัย ได้รับแจ้งจากงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลว่ามีบุคลากรโรงพยาบาลศรีสะเกษ ป่วยด้วยโรคสุกใสจำนวน 2 คน จึงได้ออกสอบสวนโรคทันที  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค 2. เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา  ตามบุคคล เวลา สถานที่ 3. เพื่อค้นหาสาเหตุและแหล่งรับเชื้อ 4. เพื่อหาแนวทางมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรค วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบสวนโรคของกรมควบคุมโรค

ผลการสอบสวนโรค พบผู้ป่วยเป็นบุคลากรโรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 2 คน คนที่ 1 เป็นแพทย์เพศชาย อายุ 24 ปี เริ่มป่วยวันที่ 4 มกราคม 2563 ด้วยอาการไข้ มีตุ่มนูนตามตัว คัน และมีประวัติเป็นพาหะธาลัสซีเมีย คนที่ 2 เป็นพนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย เพศหญิง อายุ 23 ปี ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เริ่มป่วยวันที่ 5 มกราคม 2563 ด้วยอาการ ไข้ มีตุ่มตามตัว ทั้ง 2 คน ไม่มีประวัติภูมิคุ้มกัน และทั้ง 2 คนไม่เคยป่วยเป็นโรคสุกใส ก่อนป่วยทั้ง 2 คน ดูแลผู้ป่วยสุกใสเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 เป็นผู้ป่วยเด็ก อายุ 1 ปี 14 วัน  เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2562 ส่งต่อจากโรงพยาบาลขุขันธ์ มารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ดังนั้นผู้ป่วย 2 คน จึงมีระยะฟักตัวเป็นเวลา 14 และ 15 วันตามลำดับ(ระยะฟักตัวของโรคสุกใสคือ 10-21 วัน) การรักษาผู้ป่วยเด็กที่เป็น Index Case ให้การรักษาที่ห้องแยกโรค ที่ระบบระบายอากาศยังไม่เป็นระบบปิด ใช้พัดลมหมุนเพื่อลดความร้อนอบอ้าวของอากาศ ทำให้เกิดการกระจายเชื้อได้ บุคลากรที่ป่วยทั้ง 2 ราย มีประวัติเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ซึ่งมีความผิดปกติของเม็ดเลือด ทำให้ติดเชื้อง่าย  มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE: Personal Protection Equipment) ในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อสุกใสจากผู้ป่วยในโอกาสต่อไป คือ 1. บุคลากรที่ไม่เคยป่วยเป็นสุกใสควรได้รับวัคซีน 2. จัดให้มีเครื่องดูดอากาศที่มีแผ่นกรองเชื้อไวรัสและแบคทีเรียดึงอากาศลงต่ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายภายในห้องแยกปล่อยอากาศที่ผ่านการกรองออกในทิศทางที่เป็นทางโล่ง ไม่มีผู้ป่วย บุคลากรหรือญาติ/ประชาชนพักระหว่างรอเยี่ยมหรือเฝ้าผู้ป่วย 3. การล้างมือและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลจำเป็นต้องมีและใช้ทุกครั้งที่เข้า-ออกห้องผู้ป่วย

References

ปราณี เคหะจินดาวัฒน์, บุคลากรทางการแพทย์กับอีสุกอีใส, จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย ปีที่18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม 2561.

สำนักระบาดวิทยา. โรคอีสุกอีใส. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. 2553; 55-6.

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส. หน้า 3561 [internet]. [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2563].

อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์. Changing Vaccine Information. ใน พิรังกรู เกิดพาณิช, วีระชัย วัฒนวีรเดช, ทวี โชติพิทยสุนนท์ บรรณาธิการ. ตําราวิชาการ Update on Pediatric Infectious Diseases 2011. กรุงเทพมหานคร:บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จํากัด; 2554. น.115-28.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC).Prevention of Varicella Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMVR 2007; 56:1-40.

Heininger U, Seward JF. Varicella. Lancet. 2006; 368:1365-76.

Gershon AA, Steinberg SP, Gelb L. Clinical reinfection with varicella-zoster virus. J Infect Dis. 1984; 149:137-42.

Junker AK, Angus E, Thomas EE. Recurrent varicella-zoster virus infections in apparently immunocompetent children. Pediatr Infect Dis J. 1991; 10:569-75.

Hall S Maupin T, Seward J, Jumaan AO, Peterson C, Goldman G, Mascola L, Wharton M.Second varicella infections: are they more common than previously thought? Pediatrics. 2002; 109:1068-73. 8. Meyers JD. Congenital varicella in term infants: risk reconsidered. J Infect Dis. 1974; 129:215-7.

Prober CG, Gershon AA, Grose C, McCracken GH Jr, Nelson JD. Consensus: varicella-zoster infections in pregnancy and the perinatal period. Pediatr Infect Dis J. 1990; 9:865-9.

Chaves SS, Zhang J, Civen R, Watson BM, Carbajal T, Perella D, et al. Varicella disease among vaccinated persons: clinical and epidemiological characteristics, 1997-2005. J Infect Dis. 2008;197 (Suppl 2):S127-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15