การศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคฉี่หนู ความพึงพอใจข้อมูลข่าวสาร และพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อโรคฉี่หนูของผู้ป่วยโรคฉี่หนูในพื้นที่เสี่ยง อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ฤชุอร จอมทอง สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • พฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • วันชัย สีหะวงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทศพงษ์ บุระมาน ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, โรคฉี่หนู, การรับรู้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคฉี่หนู ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร และพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของผู้ป่วยโรคฉี่หนูในพื้นที่ หมู่ 9 บ้านพยอม ตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 36 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี อายุเฉลี่ย 44 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.5 และเพศหญิงร้อยละ 44.4 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 44.4 เช่นกัน ร้อยละ 84.37 อาชีพหลักเกษตรกรรม รองลงมาคือ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 3.12 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าการเล่นน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในนา มีโอกาสเสี่ยงมากที่สุดที่จะทำให้ป่วยเป็นโรคฉี่หนู และรับรู้ว่าโรคฉี่หนูเป็นโรคร้ายแรง ป่วยแล้วต้องไปหาหมอทันที ส่วนการป้องกันและควบคุมกลุ่มตัวอย่างคิดว่าการล้างเท้าด้วยสบู่แล้วรีบอาบน้ำทันทีหลังเลิกงานช่วยป้องกันโรคฉี่หนูได้  

แหล่งข้อมูลข่าวสารที่กลุ่มตัวอย่างสามารถรับรู้สูงสุด ได้แก่ อสม. เสียงตามสาย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ตามลำดับ  โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสารในระดับดีเนื่องจากคิดว่าข่าวสารที่ได้รับมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ปฏิบัติส่วนใหญ่ คือ สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ในการทำนาเพื่อป้องกันการขีดข่วน ส่วนพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุด คือ สวมรองเท้าบู๊ทในการทำนา

ดังนั้น การสื่อสารให้ทั้งผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคฉี่หนูจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยผ่าน อสม. เสียงตามสาย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงเน้นย้ำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะพฤติกรรมการสวมรองเท้าบู๊ทในการทำนา ซึ่งจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนูประชาชนในพื้นที่ได้

References

ปรียา อินทะนิล. พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสของเกษตรกร อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

Pender NJ. Health promotion in nursing practice. second edition. East Norwalk: Applitoneentury-Crofts; 1987

วัชระบพิตร บังพิมาย และ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นเลปโตสไปโรซิสในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2560.

วัฒนาพร รักวิชา และ ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู) ของประชาชนอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลาภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2557.

Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Newyork : Harper and Row Publication. 1973.

นุชนภางค์ ภูวสันติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุข ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 2546.

Kasl SV and Cobb S. health behavior illness behavior and sick role behavior. New York:Plenum Press 1966.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15