การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เกษสุมา วงษ์ไกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
  • พุทธิไกร ประมวล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
  • ภัทราภรณ์ บัวพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรอง, การค้นหาผู้ป่วยวัณโรค, รถถ่ายภาพรังสีทรวงอก, ศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ถือเป็นแนวทางที่สำคัญในการลดความล่าช้าของการตรวจวินิจฉัย การรักษา และลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน ที่ผ่านมายังไม่มีการดำเนินการตรวจคัดกรองในเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีเคลื่อนที่ ทำให้อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในจังหวัดศรีสะเกษไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาผลการคัดกรองและการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วยรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ดิจิตอลในประชาชนกลุ่มเสี่ยงจังหวัดศรีสะเกษ 13,309 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ตามแบบคัดกรอง การตรวจเสมหะ และการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพรรณนาผลการตรวจคัดกรอง นำเสนอด้วยค่าความถี่ ค่าความชุกของความผิดปกติของปอด ความชุกของการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มาตรวจคัดกรองเป็นผู้สูงอายุ บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค และผู้ต้องขัง ร้อยละ 22.71, 19.29, 11.94, 11.52 และ 8.32 ตามลำดับ พบผู้สงสัยวัณโรคจากแบบคัดกรอง ร้อยละ 37.35 (95% CI: 36.53-38.17) และผู้ที่มีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติ ร้อยละ 8.93 (95% CI: 8.45-9.42) ได้รับการส่งตรวจเสมหะ 1,399 ราย มีผลตรวจเสมะพบเชื้อ 48 ราย ผู้ที่ได้รับการรักษาวัณโรคระยะแฝง 11 ราย และขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 84 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.63 (95% CI: 0.50-0.78)  ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยเบาหวาน 29 (34.52%), 22 (26.19%), 12 (14.29%) และ 9 (10.71%) ราย ตามลำดับ การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกทำให้สามารถพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในการพัฒนาระบบการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ควรนำระบบการคัดกรองวัณโรคเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีทรวงอกมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความล่าช้าในการตรวจวินิจฉัย การรักษา และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2018. Switzerland: World Health Organization; 2013.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปผลการดำเนินงานโรควัณโรคจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2560. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2560.

World Health Organization. Tuberculosis factsheet. [Internet]. 2014 [update 2014 March 20; cite 2014 March 20]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs104/en/index.html.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561

สุพร กาวินำ. การคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ติดสุรา. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(3): 561-70.

Swaddiwudhipong W, et al. Screening assessment of the elderly in rural Thailand by a Mobile unit. Trans R soc Trop Med Hyg 1996; 90:223-7.

Swaddiwudhipong W, et al. Screening assessment of persons 40-59 years of age in rural Thailand by a Mobile unit. J Med Assoc Thai 1999; 82:131-9.

Perez-Guzman, C., Vargas, M. H., Torres-Cruz, A., & Villarreal-Velarde, H.. Does aging modify pulmonary tuberculosis?: A meta-analytical review. Chest 1999; 116(4): 961-967.

พงษ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดเชิงรุกในชาวเขาเผ่าม้ง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2551. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2553; 19(4): 579-85.

Suggaravetsisri P & Puttasorn J. Risk factors of tuberculosis infectious among household contact In a HIV epidemic area, Chinghai Thailand. KKU Journal for Public Health Research 2008; 1(1): 40-50.

Alba-Loureiro TC, Munhoz CD, Martins JO, Cerchiaro GA, Scavone C, Curi R, et al. Neutrophil function and metabolism in individuals with diabetes mellitus. Braz J Med Biol Res 2007; 40(8): 1037-44.

Jeon CY, Murray MB. Diabetes Mellitus increases the risk of active tuberculosis: A systematic review of 13 observational studies. Plos Medicine 2008; 5(7): e152.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15