ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในเขตเทือกเขาพนมดงรัก จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติตน, การป้องกันโรคไข้มาลาเรีย, เขาพนมดงรักบทคัดย่อ
จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ใน 5 จังหวัดที่มีแนวโน้มอุบัติการณ์โรคไข้มาลาเรียสูง ในปี 2560 มีผู้ป่วย 780 ราย อยู่อันดับที่ 3 ของประเทศและปี 2561 ประเทศไทยพบผู้ป่วยแล้ว 1,532 ราย และจังหวัดศรีสะเกษพบผู้ป่วย 378 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา รองลงมาคือเจ้าหน้าที่ทหาร หน่วยอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถวางแผนการป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้ แต่กลับพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่ป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรีย และยังไม่มีการศึกษาถึงสาเหตุและโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรียในกลุ่มเสี่ยงนี้ การศึกษาครั้งนี้เป็นศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่ออธิบายและพรรณนาระดับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเขตเทือกเขาพนมดงรัก 198 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2561–30 มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 85.62 อายุเฉลี่ย 32.14 ปี (SD=10.89) อายุ 20-30 ปีมากที่สุด ร้อยละ 53.54 ตำแหน่งพนักงานลาดตระเวนหรือพิทักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ ร้อยละ 44.32 เจ้าหน้าที่รัฐที่เคยมีประวัติป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรีย ร้อยละ 37.88 ชนิดเชื้อที่พบมากที่สุด คือ PV, Mixed และ PF ร้อยละ 42.67, 28.00 และ 14.66 ตามลำดับ ตำแหน่งงานที่มีประวัติเคยป่วยมาก่อนมากที่สุด คือ หน่วยลาดตระเวน ร้อยละ 56.41 ในกลุ่มนี้พบเชื้อ PV มากที่สุด ร้อยละ 38.64 และไม่เคยกลางมุ้งนอนหรือนอนในมุ้งเป็นบางครั้งเมื่อเข้าป่า ร้อยละ 70.45 คะแนนเฉลี่ยความรู้ 6.58 คะแนน (SD=0.92) และอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 92.29 คะแนนเฉลี่ยทัศนคติ 18.46 คะแนน (SD=1.86) และอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 67.17 การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย พบว่าไม่มีมุ้งนอน ร้อยละ 10.61 มีมุ้งธรรมดา ร้อยละ 33.33 เมื่อพักค้างแรมในป่าจะนอนในมุ้งชุบสารเคมีทุกครั้ง ร้อยละ 42.93 ใช้ยาทากันยุงเป็นบางครั้ง ร้อยละ 54.04 สวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาวเป็นบางครั้ง ร้อยละ 67.68 ต้องการให้มีการชุบน้ำยาเคมีกันยุงในเครื่องนอน ร้อยละ 86.36 และอยากให้มีการสนับสนุนมุ้งหรือมุ้งคลุมเปลชุบน้ำยาเคมี ร้อยละ 61.62 จะเห็นว่ายังมีเจ้าหน้าบางส่วนที่มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในกลุ่มเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนและพิทักษ์ป่าที่ไม่นอนในมุ้งทุกครั้งเมื่อเข้าป่า และขาดชุดอุปกรณ์เครื่องนอนชุบน้ำยาเคมี ดังนั้นจึงควรมีการสร้างความตระหนัก การรับรู้ความรุนแรงของโรค และสนับสนุนอุปกรณ์ชุบสารเคมีป้องกันยุงให้เพียงพอ
References
ประยุทธ สุดาทิพย์, เสาวนิต วิชัยขัทคะ, และสุธีรา พูลลิน. การประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรีย โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 43 จังหวัด ภายใต้โครงการกองทุนโลกรอบที่ 7: การประเมินเชิงนโยบายและผลกระทบการดำเนินงาน. วารสารสาธารณสุขล้านนา.7(3); 225-239. 2011.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2558 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไชน์; 2558.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางการทำงานเพื่อกำจัดโรคไข้มาลาเรียสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
สำนักระบาดวิทยา. สรุปสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ประจำปี 2561: รายงานในระบบเฝ้าระวังโรค. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค.2563].เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y61/d30_5261.pdf
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปผลการดำเนินงานโรคไข้มาลาเรีย จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2561. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2561.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
รัศมี ศรีชื่น. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อมาลาเรียในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ จังหวัดระนอง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
สะใบทอง หาญบุ่งคล้า, เลิศชัย เจริญธัญลักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียที่เป็นโรคประจำถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี ปี พ.ศ. 2558. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4): 423-35.
ประมวล สะภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยโรคมาลาเรียในพื้นที่อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างปี 2555-2557. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
Inchana W, Kamchoo K. Factors associated with malaria infection in Vibhavadi District, Surat Thani Province, Thailand. J Med parasitol 2013; 36: 49-57.
Van BH, Khantikun N, Panart K, Somboon P, Oskam L. Knowledge and use of preventive measure against malaria in endemic and non-endemic villages in northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006; 37: 243-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว