การประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดการโรคมาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • นุกูล กองทรัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

คำสำคัญ:

การจัดการโรคมาลาเรีย, บริเวณพื้นที่ชายแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดการโรคมาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เป็นการวิจัยในรูปแบบการวิจัยประเมินผลโครงการ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามแบบจำลองซิปโมเดลของสตัฟเฟิลบีม ใน 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตจากโครงการ ระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2561 โดยเก็บข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงาน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบดังนี้

ผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสาธารณสุข ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนำชุมชนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานตามโครงการ เห็นสอดคล้องกันว่าโครงการจัดการโรคมาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นโครงการที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ และความต้องการของชุมชนและประชาชน กระบวนการดำเนินงานของโครงการที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การทำแผนเพื่อการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ และเห็นว่านโยบายนี้สามารถแก้ไขปัญหาหรือยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเด่นของโครงการคือการจัดการแบบมีส่วนร่วมและมีการบูรณาการของทุกภาคส่วน ทั้งด้านการวางแผนการดำเนินกิจกรรม การจัดการงบประมาณ และการติดตามประเมินผล มีกระบวนการดำเนินงานในรูปคณะทำงานทั้งในระดับอำเภอและระดับตำบล มีการเตรียมความพร้อมแก่ผู้รับผิดชอบงานและคณะทำงาน มีการประชุมเพื่อระดมความคิด การติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านผลสำเร็จของการดำเนินงาน พบว่าผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพในการวางแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคโรคมาลาเรียในพื้นที่ โดยความร่วมมือของภาครัฐ ท้องถิ่นและประชาชน จนสามารถยับยั้งการแพระระบาดของโรคมาลาเรียอย่างชัดเจน โดยอัตราป่วยลดลงจาก 6.12 ต่อพันประชากรเหลือ 2.05 ต่อพันประชากร อัตราการตรวจพบเชื้อลดลงจากร้อยละ 1.42 เหลือร้อยละ 0.75 และไม่มีการเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรีย และพื้นที่แพร่ระบาดของโรคเปลี่ยนจากพื้นที่แพร่เชื้อ (A) เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่เชื้อ (B) ประชาชนในพื้นที่มีการรับรู้และมีความพึงพอใจในรูปแบบบริการที่พัฒนาเพื่อจัดการโรคมาลาเรียในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 85 ทั้งในด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการ บุคลลากรที่ให้บริการและคุณภาพการให้บริการ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาผสมอนุพันธุ์อาร์ติมิซินระดับภูมิภาคภายใต้โครงการกองทุนโลกด้านมาลาเรียปฏิบัติงานควบคุมโรคมาลาเรีย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2559. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. สรุปรายงานงานประจำปี 2560.

ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. แนวทางการวิเคราะห์และการประเมินผลงาน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 2539; 36(2): 34.

สุวิมล ติรกานันท์. การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2545.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม; 2544

Strauss, A.L. and Cabbin, J. Basic of qualitative research: Grounded theory procedures and techniques. SAGE publication. 1990; 53-66 p.

ดุสิต ดวงสา และคณะ. คู่มือการใช้ PRA ในการทำงานด้านเอดส์ในชุมชน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2535.

อริศรา ชูชาติ และคณะ. เทคนิคเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วม สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม; 2538.

วีระ นิยมวัน. การประชุมทำงานอย่างมีส่วนร่วมความคิดสร้างสรรค์ AIC นนทบุรี โครงการตำราสำนักงานวิชาการ กรมอนามัย; 2542.

วิชัย เทียนถาวร. การสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ (80 Yrs with Quality of Life). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.

ไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ. ชุมชนเข้มแข็ง. ทุนทางสังคมของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมและธนาคารออมสิน; 2542.

ประยงค์ เต็มชวาลา. การกระจายอำนาจ : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปงานสาธารณสุขไทย. นนทบุรี: สำนักงานสาธารณสุขเขต 10; 2540.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. นโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี : กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม(Healthy Public Policy and Participatory Processes). พิมพ์ครั้งที่ 1 ed. กรุงเทพฯ: บริษัท ที.เค.พริ้นติ้ง จำกัด; 2551.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, นวลอนันต์ ตันติเกตุ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, editors. กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.

วรเดช จันทรศร, วินิจ ทรงประทุม. นโยบายและการนํานโยบายการประมงไปปฏิบัติ. กทม.: โครงการเอกสารและตําราคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2530

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว และปัทมา สุพรรณกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย สำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-พม่าโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษาตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอรสเทร์นเอเชีย 2558; 9(3): 196-207.

สมหมาย งึมประโคน และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(1): 35-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-07