การศึกษาผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค และภาพลักษณ์ ของกรมควบคุมโรคของประชาชนในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พิทยา วามะขันธ์ สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ฤชุอร วงศ์ภิรมย์ สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • พฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การรับรู้, ข้อมูลข่าวสาร, พฤติกรรม, ภาพลักษณ์, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี  กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 99.5 การรับรู้อยู่ในระดับมาก ( = 4.18, SD = 1.07)  มีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของการรับรู้ข่าวสาร ร้อยละ 100.0 โดยแหล่งการรับรู้ข้อมูล มากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรสาธารณสุข และ ครู อาจารย์ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน การเข้าถึงร้อยละ 100.0,  99.2 และร้อยละ 97.7 ตามลำดับ  ความพึงพอใจภาพรวมต่อข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( = 3.26, SD = 0.49)  ร้อยละ 98.5  ระดับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง คะแนนเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับมาก  มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการป้องกันโรคระดับมาก ( = 35.91, SD = 5.76)  และภาพลักษณ์เชิงบวกของกรมควบคุมโรคในมุมมองของประชาชนมีมุมมองในระดับมาก ( = 47.24, SD = 3.84)  ร้อยละ 97.5  

การสื่อสารให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการใช้สื่อบุคคล เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรสาธารณสุข ที่มีศักยภาพเป็นผู้สื่อสารความเสี่ยง  โดยการกำหนดคำสำคัญให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูลโรคความดันโลหิตสูง ใน Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

Hypertension association of Thailand guidelines in general practice 2012, update 2015. [Internet]. [cited 2015 January 16]. Available from http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/2558-55823263 (In Thai).

Buranakitcharoen P. Primary hypertension. Bangkok: Folk healers; 2010.

ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง. การรับรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559; 34(1): 83-92.

มุกดา สอนประเทศ. ความรู้และการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยก้าวหน้า ต.กุดกู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู. [อินเตอร์เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.71.148/information/center/reserch-55/Mukda.pdf.

เนาวรัตน์ จันทานนท์ และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. KKU Res J., 2554; 16(6), 749-758.

Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Newyork : Harper and Row Publication; 1973.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน; 2545.

Dusadee Norasaswat, Amornrat Klamthap and Chakkrit Ponrachom. An evaluation of perception of information on diseases, disease prevention and control behavior and public image of Office of Disease Prevention and Control Region 3 among Thai people in Health Zone 3, 2018. Disease Control Journal Vol 46 No.2 Apr - Jun 2020. 128-141 p.

Narasaswat D, Klamthap A. An evaluation of perception of information on diseases and health hazards, disease prevention and control behaviors, and public image of the Office of Disease Prevention and Control among Thai people in Health Zone 3 during 2017. Nakhon Sawan: Office of Disease Prevention and Control Region 3, Nakhon Sawan; 2017.

Pholsiriphathom K. Hypertension preventive behavior of high risk groups in Wangtakor subdistrict, Langsuan district, Chumphon province [Thesis]. [Pathum Thani]: Phetchaburi rajabhat University; 2011. 118 p.

Clamchim A. Hypertension preventive behavior of high risk groups in Wangtakor subdistrict, Langsuan district, Chumphon province [Thesis]. [Chon Buri]: Burapha University; 2011. 117 p.

Keawwandee K, Siriswang W, Katunyu G. Factors related to self-care behaviors in hypertensive risk groups from Nongyoung health promotion hospital Wiangnonglong district, Lamphun province. National and International Conference Interdisciplinary Reasearch for Local Development Sustainability, 2015; 15: 13-23.

Nootjaree Onsrinoi, Yuwadee Leelukkanaveera, Chananchidadussadee Toonsiri. Predictive Factors of Hypertension Preventive Behaviors among People with Pre-hypertension. Songklanagarind Journal of Nursing, Volume 37 No. 1 January - March 2017: 63-74.

พิมพ์ธิดา บุญวงค์ และ เสาวนันท์ บำเรอราช. ความรู้และการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ที่เข้ารับการรักษาในคลินิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนาอาน จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(3), 377-393.

สมรัตน์ ขำมาก. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3(3). 153-169.

Green W, Kreuter W. Health program planning an educational and ecological approach. New York: Quebecor World Fairfield; 2005.

อมรรัตน์ ภิรมย์ชม และอนงค์ หาญสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้ายืดบ้านโนนโพธิ์ ตำบลลุ่มน้ำชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2555; 15 (1) : ม.ค. - มิ.ย.

สุภรณ์ สุขพรั่งพร้อม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์., 2551.

อุมาพร ปุญญโสพรรณ, ผจงศิลป์ เพิงมาก และจุฑามาศ ทองตำลึง.การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทองในตำบลท่าฉางอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์., 2554.

Rosenstock. History origins of the health belief model : Health EducationMonograph., 1974.

Jaruwan Tritipsombut. A Follow-up Study of the Effects of Health Education Program. Srinagarind Med J. 2018; 33(6).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20