ความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานกับโรคไม่ติดต่อในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ศรีพันธ์ โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, การเฝ้าระวัง, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานกับโรคไม่ติดต่อและเพื่อพยากรณ์ปัจจัยด้านความดันโลหิตสูง, ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน, อายุต่อระดับน้ำตาลก่อนอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ของอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยทบทวนเวชระเบียนระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – ตุลาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Simple regression analysis และ Bivariate Correlation

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นประชากรผู้สูงอายุ อายุระหว่าง 61-70 ปี (ร้อยละ 35.30) และเป็นเพศหญิง จำนวน 182 คน (ร้อยละ 70.50) ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับเพศ (p-value≤0.05) และโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคไตเรื้อรัง (CKD), โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (p-value≤0.05) ผลการพยากรณ์ (FBS) จากระยะเวลาการเกิดโรคของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่ามีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารล่าสุดของผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 3.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .035 ; F = 4.333 ; p-value = 0.040) และการวิเคราะห์ความถดถอยเพื่อพยากรณ์ FBS จากอายุของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารล่าสุดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถพยากรณ์ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารล่าสุดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ร้อยละ 8.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .086 ; F = 11.729 ;p-value = 0.001) ส่วนสมการพยากรณ์ Fasting Blood Sugar ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อนำปัจจัยทุกด้านเข้าสมการ ทำให้ได้สมการดังนี้ FBS=233.095 (Constant) +2.645 (Duration) -1.425 อายุ

สรุปผลการศึกษา พบว่าโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคไตเรื้อรัง (CKD) และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้นอาจต้องเฝ้าระวังปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD) และกลุ่มโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อปี 2560 – 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://plan.ddc.moph.go.th/meeting30_1augsep/

กัญญ์สิริ จันทร์เพ็ญ. 2554. ระเบียบวิธีวิจัย. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.ict.up.ac.th/surinthip/ResearchMethodology_2554.

เกศริน บุญรอด. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนระยะโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 2562;11(3):1-13.

ธนนันต์ เกษสุวรรณ และสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์. ความสัมพันธ์ระหว่างค่า HbA1C กับระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารกลางวัน 4 ชั่วโมงและก่อนอาหารเย็นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเม็ดลดระดับน้าตาลในเลือด. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(2):261-270.

นภา เมฆวณิชย์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Fasting Plasma Glucose และ Hemoglobin A1c เพื่อจัดทำตารางค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2557;42(2):4975-4985.

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):256-258.

พัชรียา อัมพุธ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559;31(5):305-313.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, เรณู การ์ก, สุขเกษม เทพสิทธิ์ และคณะ. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ; 2561:1-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20