ผลของการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเสื่อมระยะที่ 3

ผู้แต่ง

  • นุชนาฏ ด้วงผึ้ง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการมีส่วนร่วม, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ชะลอการเสื่อมของไต

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มารับการรักษาที่คลินิกรักษ์ไต คลินิกหมอครอบครัววัดปทุมมาลัยเครือข่ายโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3b มีอัตราที่เลือดไหลผ่านไตระหว่าง 30-44 มล./นาที/1.73ม2 จำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมระยะที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังและอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไต เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ผลดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.83 และนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือก่อนทดลอง และหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบด้วย Pair t-test

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังและอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไต หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 มีอัตราการกรองของไตหลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไตภายหลัง การทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง เฉลี่ย 0.41 มล./นาที/1.73 ม2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7 ราย มีค่าอัตราการกรองของไตดีขึ้นเป็นระยะที่ 3a คือมีอัตราการกรองของไตระหว่าง 45-59 มล./นาที/1.73 ม2 ในภาพรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการกรองของไตลดลงต่ำกว่า 4 มล./นาที/1.73 ม2 ร้อยละ 83.33 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมระยะ 3 โดยกระบวนการการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้สามารถทำให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมและสามารถชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้ก้าวไปสู่ไตเสื่อมระยะสุดท้ายได้

References

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลศรัตน์. ความรู้เรื่องโรคไต สำหรับประชาชน โรงพยาบาลโรคไตภูมินครินทร์.กรุงเทพฯ:บริษัทเฮลธ์เวิร์ค จำกัด. (2556).

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุข ปี 2556. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์สงเคราะห์การทหารผ่านศึก.(2556).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2546). รายงานสุขภาพโลก 2002 ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างเสริมสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 5:5-17. (2558).

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2557) ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561, จาก hptt:www.nepho thai.org/index.asp.

Raffaitin C.,Lasseur C., and Chauveau P.,Barthe N., Gin H., Combe C., and Rigalleau V. (2007). Nutritional status in patients with diabetes and chronic kidney disease : a prospective study. American Journal of Clinical Nutrition, 85,96-101.

Dorothea E. Orem, Susan G.Taylor,& Kathie McLaughlin Renpenning.(2001). Nursing Concept of practice (6 ed) St.Louis, Missouri : A

กชกร ธรรมนำศีล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล และจินตนา อาจสันเทียะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง ต่อความสามารถในการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 29 (2) : 43-55. (2558).

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang A.-G. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009; 41 : 1149-60.

สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. ภาพพลิกเรื่องไตของเรา เราต้องรู้ กินอยู่อย่างไร ห่างไกลเครื่องล้างไต เพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะก่อนการล้างไต. 2559.

นารีสา แสนใจวุฒิ. การผลิตคู่มือให้ความรู้เรื่องอาหารแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กรณีศึกษา : โรงพยาบาลศิริราช. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ; 2556.

สมจิต หนุเจริญกุล.การดูแลตนเอง ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: วิ.เจ.พรินติ้ง.(2540).

ภชรพรรณ อุณาภาค และ ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10 (2) ,44-52.(2558).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15