ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • อลงกฎ ดอนละ โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

รูปแบบการวิจัย: วิจัยแบบ Cross-sectional descriptive study

สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสระใคร

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอสระใครตั้งแต่ปี 2560 ทั้ง 3 ตำบล จำนวน 492 ราย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยตั้งแต่ 1 มีนาคม 2562 – 30 เมษายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation)

ผลการศึกษา: 1) คะแนนด้านความรู้กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เฉลี่ยเท่ากับ 1.29 อยู่ในระดับปานกลาง 2) คะแนนด้านทัศนคติ กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยทัศนคติโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.22) และ 3) คะแนนด้านการปฏิบัติตัว กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัว เรื่องโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับน้อย (Mean=1.22) และความรู้ ทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการปฏิบัติตัวในเรื่องการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก (p<0.05)

ข้อเสนอแนะ: การควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น ควรมีการประเมินและสอบถามเรื่องความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตัวในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านเพื่อวิเคราะห์และสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความตระหนักของการป้องกันโรคที่เข็มแข็งในชุมชนโดยมีผู้นำเป็นแกนหลัก

References

จรณิต แก้วกังวาน, จิระพัฒน์ เกตุแก้ว, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์.ระบาดวิทยาใน: สภาวดี พรมสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรันรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2558. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; หน้า 1-10.

กลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง,สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.พ. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploadsfiles/52ab50e89451c62ec1aa2f2a08bb17ec.pdf

โรงพยาบาลสระใคร. สรุปรายงานการเฝ้าระวังไข้เลือดออกประจำปี 2561. หนองคาย.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, จรณิภา แก้วกังวาล, สภาวดี พวงสมบัติ. สาเหตุการติดต่อและปัจจัยเสี่ยงใน: สภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรันรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่ ด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2558. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; หน้า 11-15.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สภาวดี พวงสมบัติ. การติดเชื้อ อาการและอาการแสดง.ใน: สภาวดี พรมสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรันรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2558. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; หน้า 16-22.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, อนุตรศักดิ์ รัชตะทัต, สภาวดี พวงสมบัติ.การดูแลรักษาผู้ป่วย.ใน: สภาวดี พรมสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรันรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2558. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; หน้า 36-42.

ธีรภาพ เจริญวิริยภาพ, ชำนาญ อภิวัฒนคร, คณัจฉรีย์ ธานิสพงศ์. ยุงลายพาหะนำโรคใน: สภาวดี พรมสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรันรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี 2558. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; หน้า51-56.

หัสดิน แก้ววิชิต. พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; 2559

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ทัศนคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทโอเดียนสโตร์; 2526.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2537.

นิภา มนุญปิจุ. การวิจัยทางสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต; 2531.

สมจิตต์ สุพรรณทัสน์. คู่มือสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา; 2525.

รอยฮาน เจ๊ะหะ, สุชาดา ฐิติรวีวงศ์ และ ชิดชนก เชิงเชาว์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา2555; 6(10): 129-141.

ศิรินันท์ คำสี. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเทพนิมิต จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2559; 1 (1): 63-68.

พรพรรณ สมินทร์ปัญญา, อำไพวรรณ ทุมแสน และสุภัจฉรี มะกรครรภ์. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน บ้านคั่นตะเคียน ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม: 38-51.

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อัมพร สิทธิจาด, ธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม: 34-48.

นันทิตา กุณราชา, สุภาพร ตรงสกุล, วรรณรัตน์ ลาวัง และพิษณุรักษ์ กันทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย.เชียงรายเวชสาร 2560; 9 (2) : 91-103.

ปรีดาศักดิ์ หนูแก้ว, วิทยา ผ่องแผ้ว และกีรติ สวยสมเรียม. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554 ; 18(2) : 47-55.

อรนุช พิศาลสุทธิกุล, สุเมธ พรหมอินทร์ และวันชัย ธรรมสัจการ.พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา: หมู่บ้านในเขตตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. สงขลานครินทร์เวชสาร 2552; 27(1): 81-89.

ไพรัตน์ ห้วยทราย, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม และกฤษณ์ ขุนลึก. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2559; 3 (1): 64-81.

ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ.ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

องค์อร ประจันเขตต์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักเรียนโรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก. เวชสารแพทย์ทหารบก 2555; 65: 159-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15