การสังเคราะห์โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
คำสำคัญ:
การทบทวนอย่างเป็นระบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, กลุ่มเสี่ยงเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสังเคราะห์โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจากงานวิจัย ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยผู้วิจัย 4 คน สืบค้นงานวิจัยตามคำค้นที่กำหนด ทำการสืบค้นจากฐานข้อมูล PUBMED, SCOPUS และ Google Scholar ตีพิมพ์ และฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย โดยใช้คำสำคัญ “DM” หรือ “Prediabetes” หรือ “risk groups-DM” หรือ “Health Behavior Change Program”หรือ “Health Behavior Change Model” หรือ “Health Behavior Change Intervention” หรือ “Health Behavior Change Innovation” ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึง 31 ธันวาคม 2561 ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกในการคัดเลือกงานวิจัยเพื่อนำมาสังเคราะห์หาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ผลการสืบค้นพบรายงานวิจัยทั้งสิ้น 5,875 เรื่องจาก PUBMED 4,211 เรื่อง จาก SCOPUS 960 เรื่อง จาก Google Scholar 306 เรื่อง และ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย 398 เรื่อง ทำการคัดเลือกตามเกณฑ์ได้งานวิจัยทั้งหมด 8 เรื่อง พบว่ามีโปรแกรมที่นำมาเป็นแนวทางปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในชุมชน 5 โปรแกรม อีก 3 โปรแกรมเป็นการใช้เทคนิคเฉพาะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โปรแกรมแบ่งตามกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต คือกิจกรรมการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต น้ำหนัก ร่างกาย และกิจกรรมการประเมินตนเอง 2) การนำเทคนิคไปใช้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวด้วยวิธีเสริมแรงจูงใจ และโปรแกรมการใช้ SMS และ 3) โปรแกรมการให้ความรู้ หลายรูปแบบ ได้แก่ DVD การอบรมและให้คำปรึกษา การพบปะพูดคุยแบบตัวต่อตัว และการใช้คู่มือการนำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไปประยุกต์ใช้ต้องคำนึงถึง (1) ระยะเวลาการนำโปรแกรมไปใช้ต้องไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และมีระยะเข้มข้นในช่วง 1-3 เดือนแรก ส่วนที่เหลือเป็นระยะกำกับติดตาม หากมีการออกแบบโปรแกรมมากกว่า 1 ปีถึง 4 ปี ต้องมีกิจกรรมการทบทวนโปรแกรมให้กับผู้เข้ารับการอบรม และเน้นเรื่องการรักษาระดับน้ำหนักและระดับน้ำตาลที่ควบคุมได้ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ร่วมกับการลดน้ำหนักและระดับน้ำตาลเป็นหลักสำคัญ (2) ผู้ดำเนินการโปรแกรม หรือผู้นำโปรแกรมไปใช้ต้องได้รับการอบรมเสริมความรู้ทั้งเรื่อง 3อ.2ส. การกำกับติดตามและประเมินผลและการรายงานผลความก้าวหน้าของการนำโปรแกรมไปใช้ เป็นระยะๆ ตามกรอบเวลาของโปรแกรมที่กำหนดไว้ และ (3) ผู้ปฏิบัติตามโปรแกรมหรือกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในโปรแกรม ต้องมีการสอนให้รู้จักประเมินผลน้ำหนัก เส้นรอบเอว การตรวจระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต และรวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติตามกิจกรรมในโปรแกรมเป็นระยะ ๆ ตามที่กำหนดในโปรแกรม
References
World Health Organization. 2010. Global status report on noncommunicable diseases. [Online available: https://www.who.int/nmh/publications/ncd_report_full_en.pdf].
ทักษพล ธรรมรังสี และคณะ. 2557. รายงานสถานการณ์ NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. สำนักวิจัยนโยบาย สร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
เขตสุขภาพที่10 อุบลราชธานี. 2560. การสำรวจในปีด้านพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน ในเขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2558. มปท.
กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. 2560. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง สำหรับสนับสนุนการดำเนินงาน Clinic NCD Plus.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2557. คู่มือคลินิก NCD คุณภาพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว