ความสัมพันธ์ของการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา หลายขนานในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2557-2561

ผู้แต่ง

  • ทนันพัทธ์ นาคนิกร สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรมการใช้ยา, ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2557-2561 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน ทำการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการรักษาที่คลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลระดับจังหวัดที่เป็นตัวแทนในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2557-2561 จำนวนทั้งหมด 5 แห่ง เลือกจังหวัดแบบเฉพาะเจาะจง และคำนวณขนาดตัวอย่างใช้สูตรของ Yamane (1967) โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มเลือกแบบอย่างง่าย โดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืนจากรายชื่อการขึ้นทะเบียนรักษาและมีผลทดสอบความไวยาดื้อต่อยาไรแฟมปิซินและยาไอโซไนซิด โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าตรวจสอบความตรง (Validity) ของเครื่องมือเท่ากับ 0.96 ได้ค่าตรวจสอบค่าความเที่ยง (reliability) ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบราค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.802 จากกลุ่มตัวอย่างที่ทดสอบเครื่องมือจำนวน 30 คนในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 ถึงสิงหาคม 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย จำนวน 77 คน ร้อยละ 71.30 และเพศหญิง จำนวน 31 คน ร้อยละ 28.70 อายุของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 61-70 ปี จำนวน 27 คน ร้อยละ 25 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 78.70 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นระดับประถมศึกษา จำนวน 81 คน ร้อยละ 75.00 มีอาชีพเกษตรกร จำนวน 96 คนคิดเป็นร้อยละ 88.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท จำนวน 85 คนคิดเป็นร้อยละ 78.5

ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ในเขตพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2557-2561 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (=4.23, SD=0.191) พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ในเขตพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2557-2561 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (=4.47, SD=0.269)

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรควัณโรคดื้อยาหลายขนานด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรควัณโรคดื้อยาหลายขนานด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ด้านการรับรู้อุปสรรคของกระบวนการการรักษาโรควัณโรคดื้อยาหลายขนาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรค วัณโรคดื้อยาหลายขนาน ในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (r = .559), (r = .416), (r = .637), (r = .617) ตามลำดับ

References

ชัญญานุช ไพรวงษ์, วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ และภูนรินทร์ สีกุด. (2017, January-Apri). การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Nakhonratchasima college, 11(1), 107-116.

บุญมี พันธุ์ไทย, (2559). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทศพล ดวงแก้ว และพัชรินทร์ สิรสุนทร. (2017). การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของ Marshall H. Becker ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเมือง จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences),10 (3), 101-113.

มังกร ประพันธ์วัฒนะ. (2553). ระบบยาเพื่อความปลอดภัย (Safety Medication System). กรุงเทพมหานคร:ประมัตถ์การพิมพ์.

ปุณยนุช สุขสมเนตร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตตำบลโพนเขวา อำเภอศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

สกาวพรรณ อวัสดาถาวร. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรเดช สำราญจิตต์. (2558). พฤติกรรมสุขภาพทางสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561).แนวทางการควบคุมวัณโรค ประเทศไทย พ.ศ.2561.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ศศิธร อุตตะมะ. (2549). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

World Health Organization. (2017). Global Tuberculosis Report 2017. Geneva Switzerland: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15