การพัฒนารูปแบบการให้บริการสนับสนุนการกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ภาคอีสาน ประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ยาต้านไวรัส, เอชไอวีเอดส์บทคัดย่อ
โครงการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบในการให้บริการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ที่ส่งเสริมการกินยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในเขตภาคอีสานในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี ใช้ขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบสี่ขั้นตอนคือ 1) การสร้างแบบจำลองรูปแบบการให้บริการฯจากแนวคิดทฤษฎี 2) เก็บรวบรวมข้อมูลและปัญหาอุปสรรคเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบฯ โดยนักวิจัย 3) นำรูปแบบการให้บริการฯ ไปพัฒนาร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ และ 4) การนำรูปแบบไปใช้และประเมินผลรูปแบบ ทำการศึกษาในโรงพยาบาลทั่วไป 5 แห่ง กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผู้ให้บริการทั้งเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ กลุ่มแกนนำที่ให้บริการผู้ติดเชื้อในคลินิกฯ และผู้รับผิดชอบงานเอดส์ระดับจังหวัดเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มและการประชุมแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มารับบริการที่คลินิกยาต้านไวรัสในคลินิกบริการฯ จำนวน 330 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประมาณด้วยสถิติ เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.7 มี CD >200 ร้อยละ 86.4 มีระดับปริมาณไวรัสในเลือดระดับ <50 ก๊อบปี้ ร้อยละ 94.3 ไม่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ร้อยละ 84.9 ระยะเวลาในการกินยาต้านไวรัสเฉลี่ย (mean) 7.6 ปี เป็นสมาชิกชมรมหรือเครือข่ายผู้ติดเชื้อร้อยละ 53.3 ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ร้อยละ 56.0 ปัญหาอุปสรรคการนำรูปแบบการให้บริการฯ ไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการกินยาต้านไวรัสคือปัญหาเรื่องการสื่อสารข้อมูลผลการรักษากับผู้รับบริการ ความล่าช้าในการเปลี่ยนสิทธิ์การรักษา การขาดการเตรียมความพร้อมผู้ติดเชื้อเรื่องการรักษา การเปิดเผยข้อมูลผู้ติดเชื้อจากระบบการส่งต่อ รูปแบบการให้บริการคือการให้บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ของคลินิกยาต้านไวรัสของโรงพยาบาลทั่วไปทั้ง 5 แห่งในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี พบว่า เป็นการให้บริการที่ประกอบด้วย สี่องค์ประกอบ คือการบริการความครอบคลุมในมิติกาย จิตใจ และสังคม การบริการโดยทีมสหวิชาชีพและอาสาสมัครแกนนำผู้ติดเชื้อ การบริการที่มีความต่อเนื่องจากคลินิกถึงครอบครัวผู้ติดเชื้อและในชุมชน และการบริการในคลินิกโรงพยาบาลที่เน้นให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว โดยมีกระบวนการให้บริการในคลินิกบริการคือการเตรียมความพร้อมผู้ติดเชื้อ การบริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส และบริการส่งต่อเพื่อให้บริการเกิดความต่อเนื่องจากคลินิกถึงบ้านและชุมชนที่ผู้ติดเชื้อยู่อาศัย ซึ่งเป็นการให้บริการรักษาที่ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้และวิธีปฏิบัติในการกินยาต้านไวรัส ควบคู่ไปกับการให้บริการทางด้านจิตและสังคม โดยให้บริการทั้งจากทีมเจ้าหน้าที่แบบสหวิชาชีพ และจากอาสาสมัครแกนนำเพื่อนผู้ติดเชื้อ ที่เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ตรงจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และการให้บริการโดยอาสาสมัครแกนนำในกลุ่มเฉพาะเช่น กลุ่มชายรักชาย และกลุ่มเยาวชน
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2557. การจัดการความรู้ ผลสำเร็จการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบคุณภาพบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ผู้ใหญ่และเด็กในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2553-2557. มปท.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี.2559. สรุปรายงาน ข้อมูลจากโปรแกรม สปสช. ปีงบประมาณ 2559.
Talam. 2008. FACTORS AFFECTING ANTIRETROVIRAL DRUG ADHERENCE AMONG HIV/AIDS ADULT PATIENTS ATTENDING HIV/AIDS CLINIC AT MOI TEACHING AND REFERRAL HOSPITAL, ELDORET, KENYA. N.C. East African Journal of Public Health Volume 5 Number 2 August 2008.
มลฤดี ยืนยาว และคณะ. 2555. ปัจจัยทำนาย ความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในเด็กติดเชื้อเอชไอวี. Journal of Nursing Science Vol. 30 No. 4 October-December 2012.
Hudelson C and Cluver L. 2014. Factors associated with adherence to antiretroviral therapy among adolescents living with HIV/AIDS in low- and middle-income countries: a systematic review.AIDS Care. 2015;27(7):805-16. doi: 10.1080/09540121.2015.1011073.Epub 2015 Feb 23.
ยุทธชัย ไชยสิทธ และคณะ. 2556. กลยุทธ์ในการส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี: การทบทวนวรรณกรรม The Strategies to Improve Antiretroviral Drug Adherence: A
Lalit Prashant Meena and et, al. 2014. Study the drug adherence and possible factor influencing drug adherence in HIV/AIDS patients in north eastern part of India. Journal of Education Health Promot. 2014 May 3;3:31.
Rajib Saha and et, al. 2014. Adherence to highly active antiretroviral therapy in a tertiary care hospital in West Bengal, India. Singapore Med J. 2014 Feb; 55(2): 92–98.
Zahra Hosseini and et, al. 2016 Adherence to HIV/AIDS antiretroviral therapy among drug users: A qualitative study in Iran. Iran J Nurs Midwifery Res. 2016 Jan-Feb; 21(1): 29–37.
Sheri Weiser and et al. 2003. Barriers to Antiretroviral Adherence for Patients Living with HIV Infection and AIDS in Botswana. Journal Acquire Immune Defic, Volume 34, Number 3, November 1 2003.
สุคนธา คงศีล และคณะ. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ในประเทศไทย (รายงานวิจัย). ได้รับการสนับสนุนโครงการวิจัยจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), มปท.
ดวงเนตร ธรรมกุล และคณะ. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์ Factors Affecting the Adherence to Antiretroviral Medication among HIV/AIDS Patients. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม ปี2553
จุรี อุทัยชลนนท์ และคณะ. 2554. การส่งเสริมวินัยในการกินยาต้านไวรัสเอชไอวีของเด็กติดเชื้อเอชไอวี สถาบันสุขภาพแห่งชาติเด็กมหาราชินี. กุมารเวชสารปีที่ 18 ฉบับที่ 1 ม.ค.-เม.ย. 2554 Literature Review. Princess of Narathiwas Journal, ปีที่5 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2556.
Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University.
Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 180.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว