การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนไทยในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค, ภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคบทคัดย่อ
การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดตราดคำนวณกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณจากการคำนวณโดยใช้ตารางการกำหนดขนาดตัวอย่างสำเร็จรูป (Yamane, 1973) ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อน ร้อยละ 2 รวมเป็นจำนวนกลุ่มตัวอย่างอย่างต่ำ จำนวน 240 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติไคว์สแควร์ (Chi-square)
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ร้อยละ 96.2 โดยแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์และเคเบิ้ลทีวี ร้อยละ 92.3 บุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 87.1 และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 86.2 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 99.6 มีความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพในระดับมาก ร้อยละ 69.6 พฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพอยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 52.1 และประชาชนมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค ร้อยละ 90.0
การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองของประชาชนและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพในระดับปานกลาง (r = .509, .414, .458, .412 และ .413 ตามลำดับ)
พฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองของประชาชนในระดับปานกลาง (r = .413) ส่วนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ความพึงพอใจ ต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพรายโรค และความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองของประชาชนในระดับต่ำ (r = .326, .280, .374 และ .265 ตามลำดับ)
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบ รวมถึงการวางแผนในการพัฒนาระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเสริมสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคสำหรับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2554. แผนยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค ประจำปี พ.ศ. 2554. นนทบุรี : กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. 2560. สรุปผลการคัดเลือกจุดเน้นในการสื่อสารความเสี่ยงให้แก่ประชาชนประจำปี 2560. นนทบุรี.
Hunt, Todd and Ruben Brent D. 1993. Mass Communication: Producer and Consumers. New York: Harper College Publishers.
Becker, Samuel L. 1978. Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.
ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. 2531. พลศาสตร์ของการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพลศาสตร์การสื่อสาร หน่วยที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชาญ ปาวัน และคณะ. 2559. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคประจำปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
วิชาญ ปาวัน และคณะ. 2560. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนไทยประจำปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ยุพารัตน์ อดกลั้น และคณะ. 2559. การรับรู้ข่าวสาร ความรู้ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรค กระดูกพรุนของประชาชนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม.
Katz, E., Blumler, J. G. & Gurevitch, M. 1974a. The uses of mass communication. London: Routledge.
Kippax, S. and J. P. Murray. 1980. Using the media: need gratification and perceived utility. Communication Research. Vol.7.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. 2557. การประเมินผลการสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนไทย และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค ประจำปี 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กลมพรสิทธิ. 2553. การเปิดรับข้อมูลข่าวสารความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้น้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารมวลชนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนาวดี ศิริทองถาวร. 2546. การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรทัย ราวินิจ. 2549. ประสิทธิผลของการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม ในการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว