การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต

ผู้แต่ง

  • สาธร ธรรมเนียมอินทร์ โรงพยาบาลบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต, แบบประเมิน qSOFA

บทคัดย่อ

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) เป็นภาวะเร่งด่วนที่พบได้บ่อยในห้องฉุกเฉินเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องมาจากมีการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ความล่าช้าในการประเมิน การวินิจฉัยและการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มอัตราตายของผู้ป่วยได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต และกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อกในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลบางพลี ประกอบด้วย การคัดกรอง การรักษา การพยาบาล และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยการทบทวนวรรณกรรมและบทความงานวิจัยเกี่ยวกับการติดเชื้อในกระแสเลือด ทบทวนรายงานผลิตภาพทางการพยาบาลของงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และรายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560(1) รวมถึงทบทวนระบบบริการก่อนและหลังการปรับปรุง แบบประเมิน sepsis ในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางพลี ตั้งแต่จุดคัดกรอง การประเมินวินิจฉัย และรักษาพยาบาล โดยการใช้แบบประเมิน qSOFA สำหรับคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ผลการศึกษาพบว่า หลังปรับปรุงระบบคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมิน qSOFA สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด สามารถลดอัตราการตายลงได้ ร้อยละ 17.1% ผู้ป่วยที่มาโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้รับการประเมินเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง และไม่พบภาวะน้ำเกินจากการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็วขึ้น ได้รับการรักษาพยาบาลตาม CPG นอกจากนั้นยังสามารถใช้ต่อเนื่องไปยังทุกหน่วยงานขององค์กรได้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อเนื่องครบถ้วนมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็ว ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดอัตราการตาย และได้ขยายผลการใช้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนและ รพสต. เครือข่ายอีกด้วย

References

โรงพยาบาลบางพลี. 2560. รายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560.

ทิฎฐิ ศรีวิลัย และวิมล อ่อนเส็ง. 2560. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม

ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. 2560. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 : กรกฎาคม -กันยายน 2560.

ปฏิพร บุณยพัฒน์กุล. 2560. ประสิทธิผลของระบบการบริการสุขภาพฉุกเฉินต่ออาการทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. Pacific Rim International Journal of Nursing Research. ปีที่ : 21 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 135-147 ปีพ.ศ. : 2560.

พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, สุพัตรา กมลรัตน์. 2561. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 : มกราคม – มีนาคม 2561.

ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. 2560. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อ ในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.

วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราพร น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม และธนชัย พนาพุฒิ. 2557. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 32 : ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 25

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15