ผลของการฝึกหายใจแบบ SKT 1 ต่อการลดความดันโลหิตในหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • ยุพิน บุญนิธีวนิช โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การฝึกหายใจแบบ SKT1, ความดันโลหิต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตในหญิงตั้งครรภ์ที่เริ่มมีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตในหญิงตั้งครรภ์ที่เริ่มมีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวกที่เริ่มมีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 82 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการฝึกหายใจสมาธิบำบัดแบบ SKT1 และแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตก่อนและหลังการฝึกหายใจแบบ SKT 1 ในกลุ่มทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิคและความดันไดแอสโตลิคของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในทุกช่วงเวลาของการประเมิน ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความดันซิสโตลิค และความดันไดแอสโตลิคน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในทุกช่วงเวลาของการประเมิน จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการฝึกหายใจแบบ SKT1 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ให้หญิงตั้งครรภ์ในการฝึกปฏิบัติเพื่อลดความดันโลหิต ลดภาวะแทรกซ้อน หรืออันตรายต่างๆ จากผลของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงในการใช้ยาที่มีผลทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์

References

สราวุฒิ บุญสุข และนงลักษณ์ รุ่งทรัพย์สิน. 2558. รายงานผลการตรวจนิเทศ สำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 ผลงานภาพรวมทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพ (ตุลาคม 2557 - กันยายน 2558)

Lopez-Jaramillo, P., Pradilla, L. P., Castillo, V. R., & Lahera, V. 2007. [Socioeconomic pathology as a cause of] regional differences in the prevalence of metabolic syndrome and pregnancy-induced hypertension]. Rev Esp Cardiol, 60(2), 168-178.

Noris, M., Perico, N., & Remuzzi, G. 2005. Mechanisms of disease: Pre-ec lampsia. Nat ClinPract Nephrol, 1(2),98-114.

Roberts, J.M., Balk, J.L., Bodnar, L.M., Belizan, J. M., Bergel, E., & Martinez, A. 2003. Nutrient involvement in preeclampsia. J Nutr, 133 (5 Suppl 2), 1684S-1692S.

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556-2558. 2558. แนวทางการปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560 จาก http://inspection.anamai.moph.go.th/storage/web/uploads/docs/g1/JP03_OB018_ManagementOfPreeclampsiaAndEclampsia.pdf.

สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี และสิริพิชญ์ เตรียมชัยศรี. 2554. พระพุทธาเยียวยาโรค 1: โยคะสมาธิในการลดความดันโลหิตสูงผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 60 จาก http://www.dtam.moph.go.th/viewstory.php?id=150.

ประภาส จิบสมานบุญ,อุบล สุทธิเนียม. 2556. สมาธิบำบัด SKT 2 ต่อระดับความดันโลหิตและตัวบ่งชี้ทางเคมี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 29 (2) : 122-133.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. 2552. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี และสิริพิชญ์ เตรียมชัยศรี. 2551. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อรอุมา ปัญญโชติกุล, สุธินา เศษคง และสุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ. 2560. ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิตของผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้,4 (2): 245-255.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15