ผลของยา varenicline ต่อการเลิกบุหรี่

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ศรีพันธ์ โรงพยาบาลขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ยาวาเรนิคลีน, เลิกบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบผลของยา varenicline ต่อการเลิกบุหรี่ ทั้งผู้ที่ยังไม่ป่วย และป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพื่อนำไปพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของระบบบริการเลิกบุหรี่ เป็นวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้ป่วยประสงค์ที่จะเลิกบุหรี่และต้องการใช้ยา โดยได้รับการประเมินภาวะการติดนิโคตินว่าติดหนักร่วมกับ อย่างน้อย 1 ข้อดังต่อไปนี้เคยมีประวัติเลิกสูบบุหรี่มาแล้วภายใน 1 ปีแต่ไม่สำเร็จ ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดัน มะเร็ง และยินดีเข้ารับการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือการวิจัย คือการให้ยา varenicline ติดตามผลนัดติดตามครั้งต่อไป 2 สัปดาห์ 1 เดือน 2 เดือน และเดือนที่ 3 หรือทุกครั้งที่มาตรวจโรค NCD รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยยืนยันผลการหยุดบุหรี่จากค่าคาร์บอนมอนออกไซด์ในลมหายใจ (end-expiratory carbon monoxide) ที่ระดับ < 10 ppm ผลลัพธ์ของผลของยา varenicline ต่อการเลิกบุหรี่มีผู้เข้าร่วมวิจัย 61 คน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 29.50 รองลงมามีอายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 26.22 อายุน้อยที่สุด 21 ปี อายุมากที่สุด 88 ปี อายุเฉลี่ย 48 ปี เป็นชายร้อยละ 98.36 ส่วนใหญ่มีสิทธิการเบิกหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 68.85 รองลงมาประกันสังคม ร้อยละ 19.67 ส่วนใหญ่เหตุผลในการใช้ยาเคยเลิกแต่ไม่สำเร็จ ร้อยละ 54.09 รองลงมาได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค NCD ร้อยละ 40.98 จำนวนการสูบบุหรี่ต่อวันส่วนใหญ่ 20 มวนขึ้นไป (มาก) ร้อยละ 47.54 รองลงมา 11-19 มวนต่อวัน (ปานกลาง) ร้อยละ 36.06 ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 นาที หลังตื่นนอนร้อยละ 70.49 รองลงมามากกว่า 30 นาทีแต่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอนร้อยละ 24.59 การติดตามกลุ่มตัวอย่าง 1 เดือนส่วนใหญ่ยังสูบอยู่ 24 คน ร้อยละ 39.34 โดยลดปริมาณ/จำนวนมวนที่สูบลงได้ 22คน ร้อยละ 36.06 การติดตามจำนวนการสูบบุหรี่ต่อวัน 1-10 มวนต่อวัน (น้อย) ร้อยละ 52.45 เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเริ่มยา รองลงมาจำนวน 11-19 มวนต่อวัน (ปานกลาง) ร้อยละ 32.78 ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 นาที หลังตื่นนอนร้อยละ 18.03 ลดลงกว่าก่อนเริ่มยาแต่ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอน 1 ชั่วโมง หรือมากกว่าหลังตื่นนอน 22.95% ปริมาณเพิ่มขึ้นการติดตามผลระยะ 3 เดือนส่วนใหญ่ลดปริมาณ/จำนวนมวนที่สูบลงได้ 44.26% รองมาเป็นไม่สูบแล้ว 34.42% สัดส่วนเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ 1-10 มวนต่อวัน (น้อย) 36.06% ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรก 1 ชั่วโมง หรือมากกว่าหลังตื่นนอน 36.06% รองมาเป็นไม่สูบแล้ว 34.42% ระดับก๊าซ co ในลมหายใจส่วนใหญ่ <10 ppm ถือว่าไม่ติดบุหรี่ ร้อยละ 83.60 จากการศึกษานี้ให้ผลยืนยันชัดเจนว่า varenicline มีผลต่อในการช่วยอดบุหรี่ได้

ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรจะมีการศึกษาเพิ่มประเมินความคุ้มค่าวาเรนิคลีนเพิ่มเติมต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2554. เอกสารข้อเท็จจริงโครงการสำรวจการบริโภคในผู้ใหญ่ระดับโลก ประเทศไทย พ.ศ. 2552 และ 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GATS, 2009 & 2011).

กรมควบคุมโรค สำานักควบคุมการบริโภคยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข. มปป. โครงการศึกษารูปแบบระบบบริการ เลิกบุหรี่ในระดับสถานบริการและชุมชนโดยใช้ยารักษาโรคเสพติดผลิตภัณฑ์ยาสูบ จ.นครราชสีมา

อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล. สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING

พิริยะ ไข่รอด และสโรช อภิชาตกุลชัย. 2555. การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบและการอภิวิเคราะห์เปรียบเทียบผลของวาเรนิคลีนกับนอร์ทริปไทลีนในการช่วยอดบุหรี่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วศิน จิริศานต์ และฉันชาย สิทธิพันธ์. 2555. การศึกษาประสิทธิผลระหว่าง Varenicline และ Nortriptyline ในการเลิกบุหรี่ระยะสั้นสำหรับผู้ป่วย (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตมหาบัณฑิต/ปริญญาโท):จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะแพทยศาสตร์

กนิษฐา นิ่มสกุล. 2559. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเลิกบุหรี่ระหว่างการใช้นำยาอมอดบุหรี่หมากฝรั่งนิโคติน ยาแวเรนิคลินและยานอร์ทริปไทลีนในผู้รับบริการผู้ป่วยนอกกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15