การดำเนินงานสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วรางคณา ศรีภูวงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวขัว
  • ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง
  • มยุรา นาสีเคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวขัว
  • เอมอร สุทธิสา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • สมชาติ บุตราช เทศบาลตำบลท่าขอนยาง
  • ศุภธิดา ภิเศก สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม
  • สุภกฤษธ์ มงคลกิจโรจน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรวิชัย

คำสำคัญ:

การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์สร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ศึกษาในพื้นที่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเขตอำเภอกันทรวิชัย ได้แก่ บ้านหัวขัว ตำบลท่าขอนยาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน เป็นตัวแทนผู้นำและชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุข, อาสาปศุสัตว์, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และตัวแทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สมัครใจเข้าร่วมจนสิ้นสุดโครงการ วิธีศึกษา มี 3 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมการ วิเคราะห์สถานการณ์สภาพปัญหา ระดมทรัพยากร (2) ขั้นปฏิบัติการพัฒนาการ ดำเนินงาน จำนวน 3 วงรอบ ตามกิจกรรม/โครงการที่ได้จากการระดมแนวทาง ถอดบทเรียน ปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคนำมาใช้สถานการณ์จริง (3) สรุปและประเมิน ปัญหาอุปสรรคและประเมินผลการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบรายงานสอบสวนโรคพิษสุนัขบ้าในคนและในสัตว์ 2) แบบสอบสวนและค้นหาผู้เสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า 3) แบบเก็บข้อมูลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่รับวัคซีน (ร.36) 4) แบบประเมินหมู่บ้านปลอดโรคพิษสุนัขบ้าเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกต บันทึกภาพและวิดีโอในช่วงมีนาคม พ.ศ. 2557 – กรกฎาคม พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่าสถานการณ์การระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข อำเภอกันทรวิชัย เริ่มพบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 มีการเตรียมการเพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรค ระดมแนวทางมาตรการ วางแผนและจัดกิจกรรมโครงการนำสู่การปฏิบัติ วงรอบที่ 2 การถอดบทเรียนสู่การปฏิบัติตามสถานการณ์จริง จัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ พัฒนาการดำเนินงานจนเกิดรูปแบบ spark model นำมาใช้ในสถานการณ์ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่าง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557 - มกราคม พ.ศ. 2558 พบสุนัขหัวบวกยืนยันผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี FA test จำนวน 6 ตัว ผู้สัมผัสโรคได้รับวัคซีนครบคนครบชุด ควบคุมและตัดวงจรการระบาดของโรคได้ ในวงรอบที่ 3 เตรียมสร้างพื้นที่ตามเกณฑ์พื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า สำรวจจัดทำฐานข้อมูลครอบคลุม ร้อยละ 98 รณรงค์ฉีดวัคซีนสุนัขและแมว ร้อยละ 97.61 ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ตามเกณฑ์ ผลการประเมินระดับพื้นที่จากระดับ B (มีโรคในสัตว์แต่ไม่มีในคน) เป็นระดับ A (ไม่มีโรคทั้งในคนและสัตว์) จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกันระหว่าง สาธารณสุข, ปศุสัตว์, อปท. บูรณาการด้วยความเข้มแข็ง และบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปและวิจารณ์ ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ตามแนวทาง spark model เป็นรูปแบบกระบวนการที่มีประสิทธิผลเพียงพอที่สามารถควบคุมโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทำให้เกิดความยั่งยืน นำมาเป็นแนวทางในการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าได้แก้ไขปัญหาความไม่ครอบคลุมของวัคซีนในสัตว์ การรับวัคซีนในคน ปัญหาสุนัขจรจัด ขยายผลพื้นที่ในอำเภอกันทรวิชัย ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การประสานงานที่เข้มแข็งและความสามัคคีของชุมชนและเครือข่าย

References

สำนักงานโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2554. ชุดความรู้โรคพิษสุนัขบ้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี.

กรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์. 2552. แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2557. ระบบเฝ้าระวังโรค. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. 2558. รายงานข้อมูลจากสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์. [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; (สืบค้น 16 มกราคม 2558) แหล่งข้อมูล: http://dpc6:ddc.moph.go.th/.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2556. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าคำถามที่พบบ่อย. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป.

สุนีย์ เมธาจิรภัทร. 2556. การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยการฉีดเข้าในผิวหนังแบบภายหลังสัมผัสโรคภายใน 2 สัปดาห์ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. 2553. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สุรชัย ศิลาวรรณ, พีรศักดิ์ ผลพฤกษา, สุวรรณี สิริเศรษฐภักดี, จรูญวิทย์ นะพรรัมย์. 2552. การศึกษารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. 2554. การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและดูแลรักษาผู้ป่วยภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า.กรุงเทพมหานคร: สถานเสาวภาสภากาชาดไทย.

สุรชัย ศิลาวรรณ, ธนเดช สัจจวัฒนา, จันทรา กฤษณสุวรรณ, เฉลิมพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พงษ์พิษณุ ศรีธรรมนุสาร. 2551. การจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลังถูกสัตว์กัดของประชากรในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 13. อุบลราชธานี.

อุทิศ จิตเงิน, กมลากรณ์ คงสุขวิวัฒน์, วนิดา วิระกุล. 2551. สังเคราะห์บทเรียนการทำงานชุมชมกรุงเทพมหานคร : สำนักพระพุทธศาสนา.

พีรธร บุณยรัตพันธุ์, บุญส่ง กวยเงิน, พัฒนศักดิ์ กระต่ายน้อย. 2552. กลุ่มองค์กรและเครือข่าย. พิษณุโลก: ทิพย์เสนาการพิมพ์.

ธวัชชัย กมลธรรม. 2556. รูปแบบและยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในระดับชุมชนโดยภาคีเครือข่ายและประชาชนตามกระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต] พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-15