สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในเขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
สาเหตุการเสียชีวิต, วัณโรคบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในช่วง 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558 ในโรงพยาบาล 70 แห่ง ในเขตสุขภาพที่ 10 เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ลดการเสียชีวิตระหว่างการรักษา รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากโปรแกรมการบริหารจัดการวัณโรค TBCM 2010 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สัดส่วนความเสี่ยง การประมาณ ค่าขอบเขตความเชื่อมั่น และการทดสอบไคว์สแคว์
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมด 4,146 คน เสียชีวิต 233 คน คิดเป็นร้อยละ 5.61 ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตร้อยละ 67.81 เสียชีวิตในระยะ 2 เดือนแรกของการรักษา มีอายุเฉลี่ย 59 ปี เพศชายมากกว่าหญิง (1.7: 1) กลุ่มที่อายุมากกว่า 60 ปี มีอัตราการเสียชีวิตระหว่างการรักษาสูงที่สุด ร้อยละ 53.65 และเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี 2.49 เท่า (OR 2.49 ; 95% CI 1.91,3.25) ร้อยละ 52.02 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต ค่า BMI ต่ำกว่า 18.5 โรคร่วมที่พบมากที่สุดคือเอดส์ จำนวน 49 คน ร้อยละ 21.03 เบาหวาน 43 คน ร้อยละ 18.45 กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มไม่ติดเชื้อ 2.20 เท่า (OR 2.20; 95% CI 1.14,5.64) และกลุ่มที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วยเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มไม่เป็นเบาหวาน 2.95 เท่า (OR 2.95; 95% CI 2.07,4.21)
ข้อเสนอแนะ ในผู้ป่วยวัณโรคควรคัดกรองโรคร่วมอื่นทุกราย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุควรได้รับการคัดกรองวัณโรค การวินิจฉัยวัณโรคในระยะเริ่มแรกและการให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดในช่วง 2 เดือนแรกการรักษาจะลดการเสียชีวิตในผู้ป่วย
References
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. 2560. ผลการสำรวจความชุกวัณโรคประเทศไทยปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 2558. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคปีงบประมาณ 2557. เอกสารอัดสำเนา.
WHO. The End TB Strategy, 2016. Available from http://www.who.int/tb/strategy/en/.30June2015.
กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด และคณะ. 2556. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่. พุทธชินราชเวชสาร.พิษณุโลก, ปีที่ 30 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2556.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2556. National Tuberculosis Control Program Guidelines, Thailand. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
World Health Organization. 2016. Treatment guidelines for drug-resistant tuberculosis. Geneva, Switzerland: WHO.
Baker et al. 2011.Tuberculosis and diabetes mellitus: convergence of two epidemics. BMC Medicine 2011, 9:81
Kelly E Dooley and Richard E Chaisson. 2009.Tuberculosis and diabetes mellitus: convergence of two epidemics. Lancet Infection Dis, 2009 Dec: 9(12) 737-746. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2945809/.
สินสมุทร จันทร์ทองและคณะ. 2558. คู่มือการใช้โปรแกรม TBCM2010.เอกสารอัดสำเนา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว