การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วรวิทย์ วุฒา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธาตุพนม

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุมโรค, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในชุมชนที่ปลอดโรคไข้เลือดออก 5 ปี ย้อนหลังในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ภาคีเครือข่ายในชุมชนซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนและพัฒนาการดำเนินงานไข้เลือดออกในระดับหมู่บ้านจำนวน 5 หมู่บ้านๆ ละ 8 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ คำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่มจะใช้ร่วมกับการบันทึกเทปและรายการการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามความเป็นเหตุเป็นผล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าทุกหมู่บ้านมีคณะกรรมการควบคุมโรคโดยมีทั้งคำสั่งแต่งตั้ง SRRT ระดับตำบล และคำสั่งแต่งตั้งของหมู่บ้านเอง มีการประชุมคณะกรรมการทุกเดือนทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีการสื่อสารระหว่างคณะกรรมการและสมาชิกในหมู่บ้าน 2) การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน หลังจากได้รับข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และจากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้นำชุมชนของอำเภอธาตุพนม ผู้ใหญ่บ้านจะทำการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวให้สมาชิกในชุมชนทราบ และในขณะเดียวกันมีการเปิดสื่อสุขศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ได้รับมาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการทำความสะอาดหมู่บ้าน เป็นกิจกรรมที่พบว่าทุกหมู่บ้านดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ความถี่ในการดำเนินการอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และวันสำคัญอื่นเช่นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันแม่ เป็นต้น 4) การใช้มาตรการทางสังคม ทุกหมู่บ้านมีการประชาคมหมู่บ้านเพื่อหามาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อประกาศใช้ในการปฏิบัติ/บังคับให้คนในชุมชนปฏิบัติร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 5) นวัตกรรมชุมชน ทุกหมู่บ้านมีการควบคุมโรคแบบผสมผสานประกอบด้วยกำจัดยุงพาหะ การประชาสัมพันธ์ การสำรวจลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น และคิดนวัตกรรมใหม่ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 6) ทรัพยากร (บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ) ที่หมู่บ้านนำมาใช้ในการดำเนินงานมาจากหลายแหล่งทั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน และสมาชิกในหมู่บ้าน

References

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ. 2556. การวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารสุข.

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ที่ 52 ปี 2559. (เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561) เข้าถึงได้จาก http://www.thaivbd.org/n/histories/view/2696.

Stake RE. The countenance of education evaluation. (เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2561) เข้าถึงได้จากhttps://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:zXsN963f9mEJ:https://pdfs.semanticscholar.org/b07e/5b61cde550bfb0b64e895674a236c9003335.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

สกุลวิชย์ พูนนวล. 2550. การสร้างเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน: กรณีศึกษาตำบล บางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] ศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประเวศ วะสี. 2539. ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมและศีลธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ทวี ดีละ. 2557. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับชุมชนตำบลโคกสูงอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] สาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นภาภรณ์ อินทรสิทธิ์. 2550. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านบ่อคำตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] พยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนกร จีระออน. 2553. รูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] สาธารณสุขศาสตร์ สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณภา ญาณโรจน์. 2534. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในจังหวัดเชียงใหม่การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างอำเภอที่มีอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกสูงสุดและต่ำสุด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] สาธารณสุขศาสตร์ สาขาระบาดวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

Cheng SS, Huang CG, Chen YJ, Yu JJ, Chen WJ, Chang ST. 2009. Chemical compositions and larvicidal activities of leaf essential oils from two eucalyptus species. Bioresource Technology. 100:452-456.

มานิตย์ ลอมศรีสกุล. 2558. ผลของรูปแบบการใช้ปูนแดงตากแห้งในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำใช้โอ่งมังกรในบ้าน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 16(1): 3-12.

กองแก้ว ยะอูป, บุญส่ง กุลโฮง, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์. 2558. ประสิทธิผลของปลาในการกินลูกน้ำยุงลาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 22(1): 49-55.

อนุลักษณ์ จันทร์คำ. 2555. การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยในการควบคุมยุงพาหะนำโรค. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 45(1): 9-22.

กรภัทร อาจวานิชชากุล. 2556. การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อม ศึกษาของชุมชนเพื่อการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] สาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาธุพร พลพงษ ์ ซอฟียะห์ นิมะ ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย. 2560. การพัฒนารูปการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.โคกสัก อ.บางแก้ว จ.พันทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.4:S243-259.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-15