ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ แก้วสว่าง โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และรับการรักษาที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลกันทรลักษ์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จำนวน 296 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน พบว่ามีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 18.2 ปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือ ความว้าเหว่ รองลงมา คือ เหตุการณ์วิกฤติในชีวิต การรับรู้สภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สถานภาพสมรส โรคประจำตัว และความผาสุกทางใจ ตามลำดับ โดยสามารถทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้ร้อยละ 39.2 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนในการดูแลและรักษาผู้สูงอายุโรคเบาหวานเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษากราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปี 2562. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2562.

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอกันทรลักษ์. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2562. ศรีสะเกษ: 2562.

สมศักดิ์ ชุณหรัศน์. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2550. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวพี จำกัด; 2551.

วัลลภา โคสิตานนท์. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมต่อการลดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

ชัดเจน จันทรพัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุใน โรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้ของไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2547;12(2):80-92.

โสภิณ แสงอ่อน พรเพ็ญ สำเภา และพรทิพย์ มาลาธรรม. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพสัมพันธภาพในครอบครัว ความว้าเหว่ และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2550;13(1):54-68.

โรงพยาบาลกันทรลักษ์. ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2563. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลกันทรลักษ์; 2563.

ผกามาศ เพชรพงศ์. ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2562;13(2):25-36.

สรร กลิ่นวิชิต. การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร. 2558;2(1):21-33.

ศุภพงศ์ ไชยมงคล.ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร. ชัยภูมิเวชสาร. 2559;36(1):60-76.

สุชาดา แซ่ลิ่ม. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(1):193-202.

สุจรรยา แสงเขียวงาม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. 2560.

รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์ และรัชนีกร ทบประดิษฐ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของตำบลสระตะเคียน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2562;7(1):69-80.

ประอรทิพย์ สุทธิสาร. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลหนองคาย [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-07