การรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานต่อโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • เทียนทอง ต๊ะแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุนันทา ตั้งนิติพงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อรทัย เกตุขาว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุรางคนา ไชยรินคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ลภัสกรณ์ ยะปะนัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรัญญู เหงี่ยมไพศาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กฤติน นาราเวชสกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มัลลิกา ขวัญเมือง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วัชเรสร พันธ์พัฒนกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วสุชล ชัยชาญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ภาษา สุขสอน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ฉัตริน ศรีพล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การรับรู้, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล สถานะทางสุขภาพ การรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์และอุปสรรคต่อโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออก ได้จำนวน 82 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่  ปัจจัยส่วนบุคคล สถานะทางสุขภาพ และการรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.67-1 ทดสอบความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าครอนบาซได้เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคน์สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.44 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และสถานะทางสุขภาพ กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้ สถานะทางสุขภาพ ได้แก่ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน การมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย การเคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

 

References

ยุทธนา ชนะพันธ์ และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกันป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2561.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ. รณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562 ให้ประชาชนรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัมพาต. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/133619/.

พิษณุพร สายคำทอน, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, สิริหญิง ทิพศรีราช, ขวัญใจ ใจแสน, ฐิติพงษ์ ยิ่งยง และกฤษณะ สุกาวงค์. ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เขตสุขภาพที่1. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่; 2559.

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2559. [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/User/Downloads/Documents/WorldStrokeday2016_4.pdf.

สำนักงานงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง จังหวัดพะเยา. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://203.209.96.247/chronic/report

สายฝน เติบสูงเนิน และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 2561; 32(5):482-490.

อาณัติ วรรณะ, นิภา กิมสูงเนิน และรัชนี นามจันทรา. การรับรู้และการจัดการเมื่อมีสัญญาณเตือนในผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563; 2(1):30-44.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, วัชนีย์ จันทร์ปัญญา, สุธีธิดา ปาเบ้า, เสาวณี เบ้าจังหาร, ธรพร น้อยเปรม, สาวิกาพาลี และจันทร์เพ็ญ แสงขันธ์. พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560; 6(2):53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29