ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนานวัตกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค ในบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • บัญชา พร้อมดิษฐ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, นวัตกรรม, บุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อม การได้รับการสนับสนุน พฤติกรรมการพัฒนานวัตกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค  และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนานวัตกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรคในบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 234 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise)

ผลการศึกษา พบว่า 1) รพ.สต.เคยพัฒนานวัตกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ ร้อยละ 23.9 2) ด้านความพร้อม พบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแรงจูงใจ การแสวงหาช่องทาง และการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนานวัตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านการได้รับการสนับสนุน พบว่า การได้รับการรับรู้นโยบายอยู่ในระดับปานกลาง แต่การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และแรงจูงใจเพื่อการพัฒนานวัตกรรมของหน่วยบริหารอยู่ในระดับต่ำ 4) พฤติกรรมการพัฒนานวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 5) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการพัฒนานวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วยการแสวงหาช่องทาง การทำงานเป็นทีม แรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม การสนับสนุนการรับรู้นโยบายการพัฒนานวัตกรรม และการเคยพัฒนานวัตกรรมของ รพ.สต.โดยมีอิทธิพลทางบวก และสามารถทำนายพฤติกรรมการพัฒนานวัตกรรมได้ร้อยละ 61.0

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. เอกสารอัดสำเนา; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556–พ.ศ.2561). สำนักนายกรัฐมนตรี; 2556.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2550.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562. หน้า 181 เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก 30 เมษายน 2562; 2562.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนงาน โครงการ และตัวชี้วัดภายใต้แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของกระทรวงสาธารณสุข. เอกสารอัดสำเนา; 2563.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียด ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. เอกสารอัดสำเนา; 2561.

กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารผลงานวิชาการ กระประชุม 100 ปีการสาธารณสุขไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/7510

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. รายงานประจำปี 2561. เอกสารอัดสำเนา; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. รายงานประจำปี 2562. เอกสารอัดสำเนา; 2562.

วสันต์ สุทธาวาศ และประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2558; 8(1): 530-45.

ศิวพร โปรยานนท์. พฤติกรรมของผู้นำ และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ในงานของบุคลากร: กรณีศึกษา องค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์; 2554.

ขจรศักดิ์ อุดมศักดิ์. พฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร กรณีศึกษา: บริษัท แพนราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 2556; 7(14): 93-105.

Wayne W., D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. (6th ed.). John Wiley & Sons, Inc.; 1995.

Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program-The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University; 2014.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว). เอกสารอัดสำเนา; 2563.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. กระบวนการจัดการความรู้และนวัตกรรมส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจ. สุทธิปริทัศน์. 2557; 28(85): 45-60.

ธัญญามาส โลจนานนท์. ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทซิลลิคฟาร์มา จำกัด. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] บริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.

ปิยะ ตันติเวชยานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา:บริษัท ซุปเปอร์ริช อินเตอร์เนชั่นเนลเอ็กซ์เชนจ์ 1965 จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2560; 9(2): 102-11.

คณิศร์ อุนจะนำ. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์กรณีศึกษา: บริษัทอินเด็กซ์ครีเอทีฟวิลเลจจำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] บริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยมหาวิทยาลัยเนชั่น; 2557.

มนู อรดีดลเชษฐ์. งานวิจัยเพื่อการสรรสร้างนวัตกรรม. เอกสารการประชุมเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา มสธ.ครั้งที่ 5 สำนักบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 27 พฤศจิกายน 2558.

กฤษดา แสวงดี, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง และคณะ. การศึกษาภาระงาน ความ พอเพียงของอัตรากำลังและการบริหารกำลังคน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2562; 35(2): 174-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29