การประเมินผลมาตรการ 1-3-7 เร่งรัดกำจัดไข้มาลาเรีย เขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2563

ผู้แต่ง

  • สุชญา สีหะวงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิริยา ลิมปิทีปราการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิลาวัลย์ สุขยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิภารัตน์ คำภา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • สุรจิต เติมวงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, มาตรการ 1-3-7, กำจัดไข้มาลาเรีย

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผล (Summative Evaluation) นี้ เป็นแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการ 1-3-7 เร่งรัดกำจัดไข้มาลาเรีย เขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2563 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ ทำการศึกษาในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียสูงและพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียต่ำ ใน 5 ตำบล (3 จังหวัด) ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และมุกดาหาร กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานมาลาเรียหน่วยงานภาครัฐ (ระดับเขต จังหวัด อำเภอ ตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และองค์กรอิสระ จำนวน 75 คน และกลุ่มเป้าหมายเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานมาลาเรียระดับเขต อำเภอ ตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์กลุ่ม และการทบทวนเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ทุกจังหวัดมีโครงสร้างองค์กรที่เอื้อในการดำเนินงาน มีงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์เพียงพอ และมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขเป็นประจำทุกปีในจังหวัดที่เป็นพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียสูง ด้านกระบวนการ การแจ้งเตือนผู้ป่วยมีการประสานและรายงานข้อมูลผ่านทางกลุ่มไลน์มาลาเรียจังหวัดเป็นช่องทางหลัก การสอบสวนโรคดำเนินการโดยทีม SRRT ตำบลและหรือหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่พบผู้ติดเชื้อ ยกเว้นพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียต่ำ จะสอบสวนโรคร่วมกันระหว่าง SRRT ตำบลและหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง การตอบโต้โรคดำเนินการโดยหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยมีการประสานผู้นำหมู่บ้าน อสม. NGOs และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการ ด้านผลผลิต จังหวัดมุกดาหารไม่พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียในปี 2563 และทั้ง 4 ตำบลที่พบการติดเชื้อมาลาเรียในปี 2563 ดำเนินการตามมาตรการ 1-3-7 ได้ตามเป้าหมายของกรมควบคุมโรค ด้านผลลัพธ์ ไม่พบการติดเชื้อซ้ำในแหล่งแพร่เชื้อเดิม ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลมาลาเรียออนไลน์ให้สอดคล้องกับระยะเวลาปฏิบัติงาน พัฒนาทักษะการสอบสวนโรค การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกให้ผู้ปฏิบัติงาน การส่งต่อผลการสอบสวนโรคของผู้ป่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ  การจัดทำแนวทางการรายงานแจ้งเตือนผู้ป่วยไข้มาลาเรีย และการสร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริงในการสอบสวนโรคมากที่สุด

References

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี. เอกสารสรุปผลการดำเนินงานกำจัดไข้มาลาเรียประจำปี 2562. เอกสารอัดสำเนา.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคมาลาเรียสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

เชาว์ อินใย. การประเมินโครงการ Program Evaluation. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พร้นท์ (1991); 2553.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรอบรมวิทยากรเพื่อยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียสำหรับทีม SRRT ระดับตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.

รุ่งระวี ทิพย์มนตรี, นารถลดา ขันธิกุล. ความรู้เรื่องไข้มาลาเรียสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย ระบบมาลาเรียออนไลน์. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/index_v2.php

ปิยะพร หวังรุ่งทรัพย์, สุพจน์ รัตนเพียร, สุธน คุ้มเพชร, สถิต บุญเป็ง, ปรีชา เปรมปรี. การประเมินศักยภาพความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุขด้านมาลาเรียเพื่อรองรับงานกำจัดโรคมาลาเรียในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;27(4):663-672.

Guangyu Lu, Yaobao Liu, Claudia Beirsmann, Yu Feng, Jun Cao, Olaf Muller. Challenges in and lessons learned during the implementation of the 1-3-7 malaria surveillance and response strategy in China: a qualitative study. Infectious Diseases of Poverty 2016;5:94.

Jun Feng, Juan Liu, Xinyu Feng, Li Zhang, Huihui Xiao. Towards Malaria Elimination: Monitoring and Evaluation of the “1-3-7” approach at the China-Myanmar Border. Am J Trop Med Hyg 2016;95(4):806-810.

Duoquan Wang, Chris Cotter, Xiaodong Sun, Adam Bennett, Roly D. Gosling and Ning Xiao. Adapting the local response for malaria elimination through evaluation of the 1-3-7 system performance in the China-Myanmar border region. Malaria Journal 2017;16:54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29