รูปแบบการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค, โรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม, กฎหมาย, การป้องกันควบคุมโรคบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 รวมทั้งปัญหาอุปสรรคของการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ รูปแบบการศึกษาเชิงคุณภาพ ทบทวนเอกสาร การนิเทศงาน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลในจังหวัดพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 (สคร.10) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการได้ 4 จังหวัด มีกระบวนการดำเนินงานจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ 3 รูปแบบ คือ (1) แจ้งเวียนหนังสือราชการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการจังหวัดก่อนเสนอรายชื่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ (2) จัดประชุมคณะกรรมการจังหวัดเพื่อขอความเห็นชอบก่อนเสนอรายชื่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ และ (3) แจ้งเวียนหนังสือราชการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการจังหวัด และจัดประชุมคณะกรรมการจังหวัดเพื่อให้มีมติรับทราบคำสั่งจังหวัด ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานคือ การตีความหมายของบทบัญญัติกฎหมายที่แตกต่างกัน และแนวทางการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกับบริบทการปฏิบัติงาน ดังนั้นกรมควบคุมโรค ควรทบทวนแนวทางการดำเนินงานและผลักดันการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนงานตามกฎหมายให้สอดคล้องกันทั้งระดับกระทรวง ระดับกรม และระดับจังหวัด
References
พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 67ก (ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562). หน้า 215-235.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2562.
กรมควบคุมโรค. รายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/psdg/news.php?news=9717&deptcode=
วงศกร อังคะคำมูล และพลภัทร ศรีกุล. ปัจจัยความสำเร็จของการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กรณีศึกษา พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2(3): 141-53.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2563.
กรมควบคุมโรค. รายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dsp/news.php?news=16020
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132, ตอนที่ 86ก (ลงวันที่ 8 กันยายน 2558). หน้า 26-44.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 257ง (ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563). หน้า 23-25.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการดำเนินงานจำนวนจังหวัดที่มีการขับเคลื่อนมาตรการลดโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายและปัญหาสำคัญในพื้นที่. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 121ง (ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2559). หน้า 32-33.
กรมควบคุมโรค. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://alcoholact.ddc.moph.go.th/act/file/report_effect.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว