ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ไมลา อิสสระสงคราม สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, แรงจูงใจ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร จำนวน 196 คน  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2564  ใช้สถิติเชิงพรรณนา และไค-สแควร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่าระดับแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ( gif.latex?\overline{x}=3.42) ด้านความคาดหวังในประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 ( gif.latex?\overline{x}=2.88) และด้านการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 ( gif.latex?\overline{x}=3.33) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\overline{x}=4.30)

แรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 9.002, p-value=0.004)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ ต้องเริ่มจากการสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองร่วมกับการให้คำแนะนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยการชักนำจากบุคคลในครอบครัว  เพื่อน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

References

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). นนทบุรี; 2563.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages.94-19

Becker M, Maiman L. The Health Belief: Origins and Corrdlates in Psychological Theory, Health Education Mono graphs 1974; 2:300-85.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.

กัญญาภัค ประทุมชมภู. ปัจจัยแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่มีผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] สาธารณสุขศาสตร์ สาขาสุขศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพล และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2020; 2:323-37.

อาริยา สอนบุญ, อุไร จำปาวะดี และทองมี ผลาผล. วิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความหมายและการจัดการ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2019; 1:241-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29