การพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของประชาชนที่พักอาศัยในชุมชนคอนโดมิเนียมในเมืองใหญ่

ผู้แต่ง

  • นิติรัตน์ พูลสวัสดิ์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • รุจิรา ตระกูลพัว สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • ศุภรัตน์ บุญนาค สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • แก้วใจ มาทอง สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • ธัญญา รอดสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ชุมชนคอนโดมิเนียม, เมืองใหญ่, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนในเมืองปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยพักอาศัยในคอนโดมิเนียม ซึ่งส่วนใหญ่ยังขาดระบบการดูแลสุขภาพของผู้พักอาศัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานะสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียม และพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้กับผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียม ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการในพื้นที่ อาคารชุดลุมพินีคอนโดทาวน์ กรุงเทพมหานคร และอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรรัตนาธิเบศร์ (ท่าอิฐ) จังหวัดนนทบุรี ในระหว่างเดือนเมษายน 2558 – มีนาคม 2560 ประกอบด้วย 1) การประเมินสถานะสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพ 2) การจัดทำข้อมูลด้านสุขภาพ 3) การสร้างและพัฒนาจิตอาสาคอนโดมิเนียม 4) การสร้างการมีส่วนร่วม 5) การติดตามประเมินผล 6) การขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ พบว่า 1) ผลการประเมินสถานะสุขภาพ หลังดำเนินการผู้พักอาศัยมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นทั้งด้านการวัดความดันโลหิต การวัดระดับไขมันในเลือด การตรวจน้ำตาลในเลือด BMI การสำรวจลูกน้ำยุงลาย ค่า HI , CI ลดลง 2) เกิดข้อมูลด้านสุขภาพรายบุคคล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน (น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบเอว BMI) ข้อมูลปัญหาสุขภาพ (โรคเรื้อรัง โรคติดต่อ) ข้อมูลสิทธิการรักษา 3) เกิดจิตอาสาคอนโดมิเนียม จำนวน 100 คน ได้แก่ ประธาน คณะกรรมการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่นิติบุคคล แม่บ้าน รปภ. และผู้พักอาศัย 4) เกิดการมีส่วนร่วม ทั้งจิตอาสาคอนโดมิเนียมและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพประชาชนผู้พักอาศัย มีการให้ความรู้ด้านโรคและภัยสุขภาพ ฝึกตรวจสุขภาพเบื้องต้น และมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค มีการติดตามข้อมูลสถานะสุขภาพด้วยตนเองของจิตอาสาและผู้พักอาศัยโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และยังมีฐานข้อมูลสุขภาพบุคคลและภาพรวม ดังนั้นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนในการพัฒนาระบบ กลไกและงบประมาณ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาสุขภาพในรูปแบบ Healthy Condo Model สำหรับอาคารแนวสูงไปยังพื้นที่เขตเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ

References

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สถิติประชากร รายจังหวัด เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dopa.go.th/public_service/service1

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. 2522 ปรับปรุง 14 กุมภาพันธ์ 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dol.go.th/estate/DocLib/coe_law_1_25221.pdf

ณิชารัตน์ อัครมณี. ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อลักษณะคอนโดมิเนียมที่ส่งเสริมสุขภาวะในการอยู่อาศัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญาณพินิจ วชิรสุรงค์. แนววิธีการพยากรณ์พฤติกรรมของมนุษย์“พลวัตรกลุ่ม” (Group Dynamics) ของ Kurt Lewin แห่ง M.I.T. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิ.ย. 2564]; 10(23):112-118. เข้าถึงได้จาก: http://www.thonburiu.ac.th/journal/Document/10-23/Journal10_23_10.pdf

อัญชลินทร์ ปานศิริ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวของบุคลากรสาธารณสุข สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/webupload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/202106/m_news/35025/204923/file_download/34a4a65f1f9f0e616513c5aa32562484.pdf

เบญญทิพย์ พรรณศิลป์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดภาวะอ้วนของคนในชุมชน ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิ.ย. 2564]; 19(2):108-123. เข้าถึงได้จาก: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2017111114423953.pdf

มุขดา ธนันทา และคณะ. การพัฒนาวิถีชีวิตสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคอ้วน. รายงานการวิจัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc.go.th/rcenter/index.php?mode=viewrecord&mid=20130322091100_221&kw=

ยุวดี รอดจากภัย และคณะ. รูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัวต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files//2559_007.pdf

สมิทธิ์ บุญชุติมา, โคตรชาลี. การสื่อสารความเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี; 2559.

สัจจา จันทรวิเชียร. ปรัชญาการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; 2558.

อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. โมเดลสร้างสุข ‘มนุษย์คอนโด’[อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/37458%20โมเดลสร้างสุข%20’มนุษย์คอนโด’.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29