ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและภาวะหมดไฟในการทำงานช่วงวิกฤติโควิด-19 ของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ภาวะหมดไฟในการทำงาน, ความอ่อนล้าทางอารมณ์, การเมินเฉยต่องาน, ความสามารถในการทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคม (2) ระดับภาวะหมดไฟในการทำงาน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม และภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข จำนวน 148 คน จากทั้งหมด 216 คน ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี คำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรการประมาณค่าเฉลี่ย ในกรณีทราบประชากร และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง 0.83 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 35.05 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องดูแลรับผิดชอบ 3 คนขึ้นไป มีรายได้พอใช้ แต่ไม่มีเงินเก็บ ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 5.06 ปี การสนับสนุนทางสังคมโดยรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.8 (2)ระดับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ ด้านการเมินเฉยต่องานอยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับสูง และ (3) เพศ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
ศรีสกุล เฉียบแหลม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ภาวะหมดไฟในการทำงาน. Royal Thai Air Force Medical Gazette. 2562;65(2):44-52.
นครินทร์ ชุนงาม. สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(4):348-59.
ติรยา เลิศหัตถศิลป์. ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของจิตแพทย์ในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56(4):437-448.
สสิพรรธน์ นิลสงวนเดชะ, ณภัควรรต บัวทอง. ภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานและกลวิธีในการเผชิญปัญหาของพนักงานองค์การเภสัชกรรม. [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50558
ปองกานต์ ศิโรรัตน์. การศึกษาเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Job Burnout) ของพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจ กลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
วัลลภ วิชาญเจริญสุข. ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. อาการเหนื่อยหน่ายในการทำงาน: ประวัติการพัฒนามโนทัศน์ ความหมายและการวัด. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2542;5(2):167-180.
แป้งร่ำ ยงเจริญ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานของกำลังพลประจำเรือ กองทัพเรือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
ปทุมรัตน์ สกุลพิมลรัตน์. ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท วีรับเบอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด. [การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.
จิตกาญจนา ชาญศิลป์. ความเครียดและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.
อรสา ใจจินา. อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และการสนับสนุนทางสังคมต่อความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวชในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556.
กังสดาล สุทธิวิรีสรรค์. ความเข้มแข็งในการมองโลก แรงสนับสนุนทางสังคมและความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2535.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. อำนาจหน้าที่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โครงสร้าง การบริหารงาน และบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://wp.ubon.go.th/?page_id=752
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files/21aug2563-1.pdf
www.guideubon.com. Timeline ผู้ป่วย COVID19 อุบลฯ รายที่ 476-506 ไปไหนบ้าง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.guideubon.com/2.0/ubon-news/timeline-covid19-476-506/
Jacobson david E. Types and Timing of Social Support. Journal of Health and Social Behavior. 1986;27:250-264.
ชัยยุทธ กลีบบัว, พรรณระพี สุทธิวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมการมองโลกในแง่ดี กับความเหนื่อยหน่ายของพนักงานในการทำงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
วาริชาฏ ศิวกาญจน์, บุรินทร์ ต.ศรีวงษ์. ความเหนื่อยล้าในการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2553;2(2):331-341.
ลีลินทร์ธร วนิชพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของผู้แทนยาในประเทศไทย. [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562.
โชติกา เศรษฐธัญการ. การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาระหว่างเพศหญิงกับเพศชายที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ทางเพศ. วารสารมังรายสาร. 2562;7(2):17-31.
Miller D. Dying to Care? : Work, stress and burnout in HIV/AIDS. London: Routledge. 2000.
ตติยา เอมบุตร. ความขัดแย้งระหว่างการทำงานและครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2542.
กอเกษ ต่ายเกิด และคณะ. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟ (Burnout syndrome) ในนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นพรีคลินิกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารการแพทย์ธรรมศาสตร์. 2562;19:127-138.
ยศยง จันทรวงศา. การสนับสนุนทางสังคมความเหมาะสมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมและความผูกพันในงาน กรณีศึกษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบนสายการบินแห่งหนึ่ง. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว