ภาวะความเครียดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ทรงวุฒิ ชนะอุดมสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธีระวุธ ธรรมกุล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความเครียด, ช่วงวิกฤต, บุคลากรสาธารณสุข, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษา  (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัญหาส่วนบุคคล  (2) ภาวะความเครียด และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัญหาส่วนบุคคลต่อภาวะความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของประเทศไทย โดยศึกษาในบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอปราณบุรี ทั้งในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 295 คน ใช้เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบประเมินความเครียด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแบบประเมินภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุขในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สถานภาพเป็นข้าราชการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุการทำงานน้อยกว่า 10 ปี ปัญหาส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดความเครียด พบว่า ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงคือ ปัญหาการทำงาน ปัญหาสุขภาพ และปัญหาครอบครัว  ตามลำดับ (2) บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเครียดน้อย รองลงมาคือ เครียดปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเครียดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย คือ อายุ ปัญหาสุขภาพ และปัญหาการทำงาน มีอิทธิพลต่อภาวะความเครียด

References

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจของบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmh.go.th

McKinsey & Company. COVID-19 Briefing material: Global health and crisis response. [Internet]. 2020 [cited 2020 Nov 1]. Available from: http://www.mckinsey.com

กรมสุขภาพจิต. การจัดการความเครียดสำหรับบุคลาการทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานช่วงการระบาดของ โรคโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/infographic/

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th

Jianbo Lai, Simeng Ma, Ying Wang et.al. Factors Associated With Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Network open. [Internet]. 2020. [cited 2020 Aug 17];3(3):1-12. Available from: https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2763229

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16:177-185.

Suyi Yang, Pamela Meredith, Asaduzzaman Khan. Stress and burnout among healthcare professionals working in a mental health setting in Singapore. Asian J Psychiatr. [Internet]. 2015. [cited 2020 Aug 19];15:15-20. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25922279/

Xin Shen, Xiaoyue Zou, Xiaofeng Zhong, Jing Yan and Li L. Psychological stress of ICU nurses in the time of COVID-19. Crit Care. [Internet]. 2020. [cited 2020 Aug 17]; 24(1):1-3. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32375848/

Mariela Mosheva, Nimrod Hertz-Palmor hire, Dorman Ilan, Noam Matalon, Itai M. Pessach, Arnon Afek, Amitai Ziv, Yitshak Kreiss, Raz Gross, Doron Gothel. Anxiety, pandemic-related stress and resilience among physicians during the COVID-19 pandemic. Depress Anxiety. [Internet]. 2020. [cited 2020 Sep 30]; 10:1-7. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32789945/

Chou Li-Ping, Chung-Yi Li, Susan C Hu. Job stress and burnout in hospital employees: Comparisons of different medical professions in a regional hospital in Taiwan. British Medical Journal Open. [Internet]. 2014. [cited 2020 Aug 19]; 4(20):1-7. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24568961

Kane PP. Stress causing psychosomatic illness among nurses. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine. [Internet]. 2009. [cited 2020 Sep 30]; 13(1):28-32. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20165610/

Crystal L. Park, Beth S. Russell, Michael Fendrich, Lucy Finkelstein-Fox, Morica Hutchison, and Jessica Becker. Americans’ COVID-19 Stress, Coping, and Adherence to CDC Guidelines. J Gen Intern Med. [Internet]. 2020. [cited 2020 Aug 19]; 35(8):2296-2303. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7259430/

Goulia P, Mantas C, Dimitroula D, Mantis D, Hyphantis T. General hospital staff worries, perceived sufficiency of information and associated psychological distress during the A/H1N1 influenza pandemic. BMC Infectious Diseases. [Internet]. 2010. [cited 2020 Aug 17]; 10(1):1-11. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21062471/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29