การศึกษาสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

ผู้แต่ง

  • ยุพดี ตรีชาลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุวรรณ วิโรจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, การป้องกัน, ควบคุมโรค, ไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประชากรเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 19,737 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น 0.71 และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบ t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า อสม. มีความรู้เรื่องโรค COVID-19 ระดับปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 61.25 (Mean = 15.59, S.D. = 1.37, Min = 11, Max = 20) ระดับทักษะในการป้องโรค COVID-19 ของ อสม. พบว่า เกือบทั้งหมดมีทักษะในระดับสูง ร้อยละ 99.25 (Mean = 14.77, S.D. = 0.77, Min = 8, Max = 15) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองของ อสม. ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่มีสถานภาพสมรสต่างกัน มีความรู้เรื่องโรค COVID-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.066, P = 0.040) อสม.ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความรู้เรื่องโรค COVID-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.273, P = 0.024) อสม.ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีบทบาททางสังคมของ อสม. ในการป้องกันโรคและควบคุมโรค COVID-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.901, P = 0.001) สรุปผลการศึกษา พบว่า อสม.มีสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านพฤติกรรม ด้านบทบาทหน้าที่ และควรส่งเสริมทักษะของ อสม.ในการชักชวนการรับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เพื่อเพิ่มสมรรถนะของ อสม. ให้มากขึ้น

References

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard With Vaccination Data. [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 21]. Available from: https://covid19.who.int/

World Health Organization. Coronavirus. Geneva: World Health Organization; 2020.

กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hsscovid.com/filesการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด-19.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. 2564.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค แจงการจัดสรรวัคซีนในแต่ละกลุ่มอายุเป็นไปตามหลักฐานทางวิชาการและความปลอดภัย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/163750/

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiphc.net/new2020/content/1

อนุชิต ไกรวิจิตร. เปิดผลสำรวจคนจนเมืองในภาวะวิกฤตโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/coronavirus-240263-3/

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ. 2521–2557). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชปูถัมภ์; 2557.

ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี 2562;8(1):3-10.

ภูดิท เตชาติวัฒน์ และคณะ. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563.

กิตติพร เนาวสุวรรณ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2):92–103.

สุชาดา อินทรกําแหง ณ ราชสีมา และคณะ. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2564;7(2):80-97.

Bloom BS. Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw–Hill; 1976.

Sommers BD, Long SK, Baicker K. Changes in mortality after Massachusetts health care reform : A quasi-experimental study. Annals of Internal Medicine; 2014.

อัมพร จันทวิบูลย์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย: กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;28(6):1130-1142.

นิพนธ์ สารารัมย์. ศึกษาการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2563;4(1):15-25.

อำนวย เนียมหมื่นไวย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชนอำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2561;4(1):78-92.

หทัยรัตน์ สุนทรสุข, นงนวล พูลเกษร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคโควิด-19 และผลกระทบของการระบาดต่อประชาชน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563;11(1):13-29.

กนกวรา พวงประยงค์. สถานการณ์ผลกระทบความต้องการการช่วยเหลือและการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19: กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2564;35(1):266-286.

สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2563;7(2):61-71.

วิทยา ชินบุตร, นภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564;6(2):304-18.

พัชราภา กาญจนอุดม และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2563;21(40):34-45.

วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564;4(2):63-75.

วีณาพร สำอางศรี และคณะ. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563;15(3):187-98.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28(4):280-291.

ศุภัคชญา ภวังคะรัต และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานการวิจัย; 2563.

ณัฐพงษ์ เฮียงกุล, ยุทธนา แยบคาย. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านเขตเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(2):314-322.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23