การพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เครือข่าย, โรคพิษสุนัขบ้า, เฝ้าระวัง, การดำเนินการและการป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และเพื่อส่งเสริมความรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดำเนินงานและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 56 คน เครือข่าย ชุมชนที่เลี้ยงสัตว์ในบ้าน จำนวน 270 คน ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ตุลาคม 2562–กันยายน 2563 เครื่องมือประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเป็นแบบสอบถามและแบบฟอร์มรายงานการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ (1) การศึกษาบริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา (2) การจัดทำแผน (3) การดำเนินการและ (4) การสะท้อนปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการประเมินความรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานและเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยรวมมากกว่าก่อนการดำเนินงาน (p<.001) โดยมีคะแนนความรู้มากกว่าก่อนการดำเนินงาน 7.48 คะแนน (95% CI; 7.096, 7.858) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการมีส่วนร่วมโดยรวมมากกว่าก่อนการดำเนินงาน (p<.001) มีคะแนนการมีส่วนร่วมมากกว่าก่อนการดำเนินงาน 1.12 คะแนน (95%CI; 1.051, 1.191) มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.16, SD.=0.57) และผลการสำรวจสุนัขและแมวพบว่า มีสุนัข 4,897 ตัว และแมว 673 ตัว รวม 5,570 ตัว สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีน 5,570 ตัว คิดเป็นร้อยละ 100 และไม่พบรายงานหัวบวกในสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในปีงบประมาณ 2563-2565 ในพื้นที่ศึกษา

การพัฒนาเครือข่ายฯ ให้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าฯ ส่งผลกระทบต่อการไม่พบรายงานสุนัขหัวบวกและผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายฯ ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป

References

กองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: 2554.

สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุขบ้า. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairabies.net/

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การเฝ้าระวังโรคแห่งชาติรายงาน 506. โรคพิษสุนัขบ้า [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y61/d42_1161.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. เอกสารอัดสำเนา

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ddc.moph.go.th

สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุขบ้า. รายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ผลบวก). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairabies.net/dashboard/default.aspx

ศุภธิดา ภิเศก, ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช. ปัจจัยเสี่ยงของการพบโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขจังหวัดมหาสารคาม ปี 2557-2559. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 29(2):71-81.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.

Beakley B.A., Yoder S.L., West L.L. Community-based instruction: A guidebook for teachers. VA: Council for Exceptional Children; 2003.

หทัยกาญจน์ ยางศรี. รูปแบบการดำเนินงานและการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน เพื่อให้เป็นเขตพื้นที่ปลอดโรค อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.

คณัฐพงศ์ โชคลือชัย. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในเขตเทศบาลตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

วรางคณา ศรีภูวงค์, ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์, วิไลพร หาญชัย, เอมอร สุทธิสา. การพัฒนาการดําเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26(2):299-309.

ศรินทร สนธิศิริกฤตย์ และคณะ. รูปแบบการสร้างความร่วมมือด้านการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” ในพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ปี 2558. วารสารควบคุมโรค. 2558; 42(1):25-35.

ไมตรี ธนประสิทธิ์พัฒนา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี; 2561.

อภิญญา ดวงสิน, ประไพพิศ วิวัฒน์วานิช, กวินนาฏ งามสมชน, อดุลย์ ฉายพงษ์. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนไทย ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2562. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 2563; 18(2):68-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-15