ปัจจัยทำนายที่ส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • ระวีพรรณ สุนันต๊ะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • น้ำเงิน จันทรมณี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทวีวรรณ ศรีสุขคำ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, คอมพิวเตอร์, บุคลากร, มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา โดยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบศึกษาภาคตัดขวาง (Cross Sectional Study) จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression พร้อมทั้งนำเสนอค่า Adjusted Odds Ratio (OR) และ 95%CI โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.5 มีช่วงอายุมาก 36-45 ปี ร้อยละ 67.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาโท ร้อยละ 64.4 และเป็นอาจารย์สายวิชาการ และพบว่าระยะเวลาที่ใช้คอมพิวเตอร์ในสถานที่ทำงานติดต่อกันในแต่ละวันนานที่สุดมากกว่า 1 ชั่วโมง – 3 ชั่วโมง ร้อยละ 68.1 และข้อมูลด้านการทำงานพบว่า ระยะเวลาที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านติดต่อกันในแต่ละวันนานที่สุด มากกว่าวันละ 3 ชั่วโมง ร้อยละ 57.5 โดยส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเฉลี่ยเดือนประมาณ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 61.8 โดยส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Note Book) ในการทำงาน ร้อยละ 67.8 และข้อมูลอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ในรอบ 7 วัน และ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่าอาการปวดกล้ามเนื้อในรอบ 7 วันที่ผ่านมาของบุคคลากร มีความชุกของระดับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสูงสุด ได้แก่ คอซ้าย คอขวา รองลงมาของความชุกของระดับการปวดเมื่อยกล้ามอันดับที่ 2 ได้แก่ ไหล่ซ้าย ไหล่ขาว และความชุกของระดับการปวดเมื่อยกล้ามอันดับที่ 3 ได้แก่ หลังส่วนบนซ้ายและหลังส่วนบนขวา และอาการปวดกล้ามเนื้อในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาของบุคลากรพบว่า ความชุกของระดับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสูงสุด ได้แก่ คอซ้าย คอขวา รองลงมาของความชุกของระดับการปวดเมื่อยกล้ามอันดับที่ 2 ได้แก่ ไหล่ซ้าย ไหล่ขาว และความชุกของระดับการปวดเมื่อยกล้ามอันดับที่ 3 ได้แก่ หลังส่วนบนซ้ายและหลังส่วนบนขวา สอดคล้องกันกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในรอบ 7 วัน จากข้อมูลดังกล่าวลักษณะพฤติกรรมการทำงานจะเป็นการก้มๆ เงย และนั่งทำงานนานติดต่อกันหลายชั่วโมง และต้องใช้มือ นิ้ว แขน ติดต่อกันแบบซ้ำๆ ทำให้การเคลื่อนไหวของแขน คอ บ่า ไหล่ ถูกจำกัดส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกถูกจำกัดการเคลื่อนไหว จึงส่งผลให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า และไหล่ตามมา

References

กรมควบคุมโรค. กรอบแผนปฏิบัติราชการเชิงยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560.กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ทิพานันท์ ตุ่นสัง และคณะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 2562;13(2):255-266.

อรัญญา นัยเนตร์. ปัจจัยที่ทําให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2563;16(2):61-74.

เปรมฤดี โสกุล, เพลินพิศ สุวรรณอำไพ, อรวรรณ แก้วบุญชู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออก ประเทศไทย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31(1):29-42.

กรมการแพทย์. ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

เมธินี ครุสันธิ์, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุก ความรู้สึกไม่สบายบริเวณ คอ ไหล่ และหลังของพนักงานสำนักงานของมหาวิทยาลัย ที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

ดวงเดือน ฤทธิเดช, ฌาน ปัทมะ พลยง, มริสสา กองสมบัติสุข. ปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่ และหลัง ของพนักงานในสำนักงานบริษัทเอกชนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในจังหวัดระยอง. วารสารกรมการแพทย์ 2561;43(6):57-63.

Hsieh F.Y., Bloch D.A., Larsen M.D. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998;17:1623-1634.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

จันจิรา ทิพวัง, กาญจนา นาถะพินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหลตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559;23(1):46-60.

นรากร พลหาญ, สมสมร เรืองวรบูรณ์, โกมล บุญแก้ว, อนุพงษ์ ศรีวิรัตน์. กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2557;6(12):26-38.

กลางเดือน โพชนา, องุ่น สังขพงศ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2557;44(2):162-173.

ปริญญา เลิศสินไทย และคณะ. การสำรวจความชุกของอาการปวดคอและความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดคอกับกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ในนักศึกษาคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารกายภาพบำบัด 2563;42(2):101-107.

อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล, กลางเดือน โพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560;12(2):53-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23