ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐานของชนเผ่าม้ง ตำบลปอ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เชณิยา ปาโท้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เทียนทอง ต๊ะแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, การพาบุตรหลานมารับวัคซีนพื้นฐาน, ชนเผ่าม้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านความรู้เรื่องวัคซีนพื้นฐาน ปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนพื้นฐาน ปัจจัยด้านสิ่งชักนำ พฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐาน และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐานของชนเผ่าม้ง ตำบลปอ จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยพัฒนาขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านความรู้เรื่องวัคซีนพื้นฐาน ปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนพื้นฐาน ปัจจัยด้านสิ่งชักนำ และพฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐาน ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.67-1 ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านความรู้ โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (KR-20) มีค่าเท่ากับ 0.82 และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สิ่งชักนำ และพฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐาน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.30 ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับเด็ก มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับการศึกษา ระยะทางในการเดินทางไปรับบริการ การพาเด็กไปรับบริการอื่น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ปัจจัยด้านสิ่งชักนำ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการพาบุตรหลานมารับบริการวัคซีนพื้นฐานของชนเผ่าม้ง ตำบลปอ จังหวัดเชียงราย ได้ร้อยละ 18.10

References

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. ความรู้เรื่องวัคซีน [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://nvi.go.th/index.php/vaccine-knowledge/epi-program

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์โรคหัดทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dvb/news.php?news=9337&deptcode=dvb

กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. รายงานสถานการณ์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://61.19.32.29/hdc/reports/page.php?cat_id=4df360514655f79f13901ef1181ca1c7

ศูนย์ระบาดวิทยาโรงพยาบาลเวียงแก่น. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา อำเภอเวียงแก่น ประจำเดือนตุลาคม 2561. เชียงราย; 2561.

Becker MH. The Health Belief Model and Prediction of dietary Compliance: A field Experiment. Journal of Health and Social Behavior 1977; 18(4):348-66.

รุสนา ดอแม็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ปกครองในการนำเด็กอายุ 0-5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(2):224-35.

ณปภา ประยูรวงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัยตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 2(2):43-53.

วิจิตรา รทะจักร. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี ของผู้ปกครอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 28(8):1473-89.

ไวริญจน์ เปรมสุข. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์ 2562; 26(1):24-39.

ปิยะพร แซ่อุ่ย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในเด็ก 0-2 ปี โรงพยาบาลปัตตานี: การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561; 41(4):21-32.

เสรี ลาชโรจน์. หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. ใน: เอกสารการสอน ชุดวิชาการบริหารและการจัดการ การวัดและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2535. หน้า 65-68.

ภูทอง พรมมะวงศา, คงเวียง พันทะวงศา, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, วิทยา อยู่สุข, วันพนอม ศรีเจริญ, สุณีรัตน์ ยั่งยืน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน ในเด็กอายุต่ำกว่า 24 เดือน เมืองบริคัณฑ์ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(4):589-603.

Jin-Won Noh, Young-mi Kim, Nabeel Akram, Ki-Bong Yoo, Jumin Park, Jooyoung Cheon, et al. Factors affecting complete and timely childhood immunization coverage in Sindh, Pakistan; A secondary analysis of crosssectional survey data. PLOS ONE. 2018; 10:1-15.

วรภัทร กระทู้. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเรื่องการเจ็บป่วยของผู้ปกครองชาวม้งและการมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2561; 26(2):145-54.

Afiong Oku, Angela Oyo-Ita, Claire Glenton, Atle Fretheim, Glory Eteng, Heather Ames, et al. Factors affecting the implementation of childhood vaccination communication strategies in Nigeria: a qualitative study. BMC Public Health. 2017; 17:1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29