ถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโควิด-19 จังหวัดมุกดาหาร กรณี รับส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน จากสถานการณ์ "ผึ้งแตกรัง"
คำสำคัญ:
ถอดบทเรียน, การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข, รับส่งแรงงานกลับบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโควิด-19 จังหวัดมุกดาหาร กรณี "ผึ้งแตกรัง" รับส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน 2565 วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบผสมผสานวิธี ระหว่างวิธีเชิงปริมาณ และวิธีเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลด้วยการสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย ด้านสถานการณ์ พบว่าในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน 2564 มีแรงงานลาวเดินทาง ผ่านจังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งสิ้น 12,116 ราย เป็นผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 739 ราย (ร้อยละ 6.10) เดินทางมากที่สุดในเดือนสิงหาคม จำนวน 4,211 ราย เป็นผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 631 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.98 โดยมีขั้นตอนการรับส่งแรงงานลาวกลับบ้าน 7 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์พักคอย คัดกรองแยกประเภทและรับบัตรคิว (กลุ่มปกติ กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มผู้ป่วย) การประชุมทำความเข้าใจ จัดระเบียบการปฏิบัติตัว การประสานการรับแรงงานลาวกับผู้เกี่ยวข้องของแขวงสะหวันนะเขต การตรวจสอบเอกสาร การเคลื่อนย้าย นำส่ง ตรวจคนเข้าเมือง และข้ามด่านการทำความสะอาด การพ่นฆ่าเชื้อสถานที่ศูนย์พักคอยและรถนำส่งผู้ป่วยทุกคัน จัดการขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อ และการสรุปข้อมูลผู้เดินทาง วิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค มอบหมายภารกิจและเตรียมรับผู้เดินทางในวันถัดไป ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จ เกิดจากการบูรณาการการทำงานของเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และเครือข่ายระหว่างประเทศอย่างที่เป็นรูปธรรม มีขั้นตอนการทำงาน แต่ละภาคส่วนทราบบทบาทหน้าที่ชัดเจน การปฏิบัติงานด้วยจิตอาสา มีระบบการประสานงาน การสั่งการที่ชัดเจน ในการส่งแรงงานลาวกลับบ้าน รวมถึงการป้องกันควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคโควิด-19 โรคติดต่ออื่นที่ศูนย์พักคอยจังหวัด
References
สุภางค์ จันทวานิช. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
องอาจ นัยพัฒน์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สามลดา; 2551.
Stringer ET. Action Research: 4th edition. Califonia: SAGE; 2014.
World Health Organization. Strengthening health-system: toolkit for assessing health-system capacity for crisis management. Geneva: World Health Organization; 2012.
เฉลิมพล ขจรชัยกุล. ปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าตัดสินใจเดินทางเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559. 92 หน้า.
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก, วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สำแดงสาร, ดลปภัฏ ทรงเลิศ. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2561;11(1):231–238.
ดำรง ธำรงเลาหะพันธุ์. การศึกษามาตรการของประเทศไทยในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนแรงงานต่างด้าว. [รายงานการศึกษาส่วนบุคคล: หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 11 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ]. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการต่างประเทศ; 2562. 75 หน้า.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว