การพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่เขตเมือง โดยการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • สิริหญิง ทิพศรีราช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • ทรงยศ คำชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • กชมน ซำหา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • ภัสสรา ซาลิซส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัณโรค, การคัดกรอง, เขตเมือง, รูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคที่เหมาะสมกับพื้นที่เขตเมือง ดำเนินการพัฒนารูปแบบร่วมกับเครือข่ายสุขภาพเขตเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อนำรูปแบบไปใช้กับกลุ่มประชาชนที่สมัครใจเข้ารับการประเมินความเสี่ยงโรควัณโรค โดยประยุกต์ใช้วงจร PAOR ได้แก่ การศึกษาสถานการณ์ปัญหาวัณโรคของเขตเมือง การพัฒนารูปแบบฯ การนำรูปแบบไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อโรควัณโรค และการศึกษาผลการทดลองใช้ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตตามแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการรวบรวมจากแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลด้วยตัวเองโดยใน Application TBSS วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา รูปแบบการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคด้วยตนเองผ่าน Application TBSS ในพื้นที่เขตเมืองฯ พัฒนาขึ้นตามแบบคัดกรองผู้มีอาการสงสัยวัณโรคปอดของกรมควบคุมโรค โดยผู้ประเมินตนเองต้องกรอกข้อมูลใน Application TBSS ผ่านอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ตพีซี หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ และผู้ใช้ยังสามารถเลือกเข้าไปศึกษาความรู้เรื่องวัณโรคใน Application TBSS ได้ หากผลการประเมินตนเองพบว่ามีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรค สามารถเลือกเข้าไปรับบริการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยช่องทาง Fast Track ในโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา โดย Application TBSS จะออกบัตรแสดงตนให้ผู้มีความเสี่ยงนำไปแสดงตนในสถานพยาบาลฯ ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการคัดกรองมีผู้เกี่ยวข้องน้อยที่สุด ป้องกันการตีตรากรณีที่พบว่ามีความเสี่ยง

เมื่อนำรูปแบบการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคด้วยการคัดกรองตนเองฯ ไปทดลองใช้พบว่ามีผู้สมัครใจใช้ รูปแบบฯ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค จำนวนทั้งสิ้น 942 ราย ผู้รับการคัดกรองส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.36 มีอายุมากกว่า 60 ปี อัตราส่วน เพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1 : 1.4  มีที่อยู่ปัจจุบันในตำบลช้างเผือกมากที่สุด (ร้อยละ 20.51) กลุ่มผู้มารับการคัดกรองส่วนใหญ่ มีประวัติป่วยเป็นโรคไร้เชื้อเรื้อรัง โดยร้อยละ 33.23 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และร้อยละ 23.67 เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการที่พบมากได้แก่อาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ หรือไม่ไอเลย (ร้อยละ 51.21) ไอมากกว่า 2 สัปดาห์ (ร้อยละ 4.03) และน้ำหนักลด (ร้อยละ 2.76) ตามลำดับ ผู้เข้ารับการประเมินด้วย Application TBSS พบมีความเสี่ยงต่อวัณโรค (คะแนนประเมินความเสี่ยงมากกว่าหรือเท่ากับ 3) 26 ราย (ร้อยละ 2.76) ผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลเพิ่มเติม 12 ราย (ร้อยละ 46.15)  และมีผลตรวจร่างกายผิดปกติ (Chest X-ray abnormal) 2 ราย ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมาก ร้อยละ 94.68 ยินดีใช้รูปแบบในการคัดกรองตนเอง และร้อยละ 92.97 จะเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมในสถานพยาบาลทันทีเมื่อพบความเสี่ยง การขยายผลรูปแบบดังกล่าวนี้ควรดำเนินการในกลุ่มเฉพาะ เข้าถึงยาก ได้แก่ แรงงานต่างชาติ  บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มวัยทำงานที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ เช่น พนักงานโรงงาน กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นต้น

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 (National Tuberculosis Control Program Guidelines, Thailand, 2018). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

World Health Organization (WHO). Tuberculosis [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 17]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis

World Health Organization (WHO). Consolidated guidelines on tuberculosis. Module 2: screening – systematic screening for tuberculosis disease [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 17]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240022676

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

เทศบาลนครเชียงใหม่. แผนพัฒนาเทศบาลนครเชียงใหม่ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 7 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cmcity.go.th/Viewpdf/1205/แผนพัฒนาเทศบาลนครเชียงใหม่%204%20ปี%20(พ.ศ.%202561%20-%202564).html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/provincial%20analysis%20report.html

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สถานการณ์วัณโรคปีงบประมาณ 2565 จังหวัดเชียงใหม่; 2565. (เอกสารอัดสำเนา)

สิริหญิง ทิพศรีราช, ธนาลักษณ์ สุขประสาน, ทรงยศ คำชัย และคณะ. รายงานสถานสุขภาพเขตเมืองด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครเชียงใหม่; 2562. (เอกสารอัดสำเนา)

กลุ่มควบคุมโรคเขตเมือง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการถอดบทเรียนเรื่อง การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการควบคุมป้องกันวัณโรคในโรงเรียน; 2561. (เอกสารอัดสำเนา)

พิษณุพร สายคำทอน, ศรัณย์ วรปิติรังสี, กานต์ธีรา เรืองเจริญ. รายงานเบื้องต้นการสอบสวนโรควัณโรคปอดในห้องปรับอากาศ ณ สถานศึกษาแห่งหนึ่งฯ สิงหาคม 2560; 2560. (เอกสารอัดสำเนา)

ชูศักดิ์ เอกเพชร. การวิจัยปฏิบัติการ ACTION RESEARCH [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/Action-Research-1.pdf

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/หนังสือแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ%20FINAL_new%20des.pdf

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แบบคัดกรองผู้มีอาการสงสัยวัณโรคปอด [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/form/แบบคัดกรองวัณโรค_ผู้ป่วยทั่วไป%2027%20Feb.pdf

Degu Jerene Dare, Andualem Aklilu, Abebe Fikre, Daniel Gemechu. Online, Self-Administered Screening Tool for Improving TB Detection among University Students in Ethiopia [Internet]. 2018 [cited 2021 Aug 13]. Available from: https://msh.org/wp-content/uploads/2018/09/ctb_highlight_ethiopia_selfscreen.pdf

สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธ์. รูปแบบการควบคุมวัณโรคในเขตเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;2:571-78.

ศรีเกษ ธัญญาวินัชกุล, ระวี ยกบัตร. ความไวของแบบคัดกรองวัณโรคสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2553;3:360-70.

เกษสุมา วงษ์ไกร, พุทธิไกร ประมวล, ภัทราภรณ์ บัวพันธ์. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2563;1:73-82.

นัชชา แสงวัชรสุนทร. การทำงานวัณโรคในสังคมเมืองยากจริงหรือ ?. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561;2:97-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26