การเปรียบเทียบการตอบสนองของแอนติบอดีของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลนครพนม ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มกระตุ้น ชนิด Viral vector หรือ mRNA หลังจากที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์ โรงพยาบาลนครพนม
  • สุทธิชัย นักผูก กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ธนสิทธิ์ ไพรพงศ์ โรงพยาบาลนครพนม
  • ปิยพงศ์ ศิรินภากุล โรงพยาบาลนครพนม
  • เกรียงไกร ประเสริฐ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19, การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3, บุคลากรทางการแพทย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของแอนติบอดีของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลนครพนม หลังได้รับวัคซีนป้องกันโควิด -19 เข็มกระตุ้นชนิด viral-vector หรือ mRNA หลังจากที่รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม

วิธีการศึกษา เป็น concurrent observational therapeutic research ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครพนมที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine; Coronavac) และได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ชนิด Viral-vector, AZD1222 (ChAdOx1 nCoV19 vaccine, Oxford-AstraZeneca) หรือ mRNA, BNT162b2 (BNT162b2 vaccine, Pfizer-BioNTech) ระหว่างช่วงเดือนมิถุนายน–สิงหาคม 2564 กลุ่มละจำนวน 50 คน ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันด้วยวิธี ELISA (Wantai Biological Pharmacy, Beijing Wantai) และ Microneutralization assay ต่อสายพันธุ์ไวรัสเดลตา

ผลการศึกษา บุคลากรทางแพทย์ในกลุ่ม AZD1222 และ BNT162b2 เป็นผู้หญิง 86% และ 80% มัธยฐานของอายุ คือ 45 ปี (IQR 34 - 52) และ 36 ปี (IQR 31 - 42) (p < 0.001) ตามลำดับ ซีรั่มก่อนได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นของทั้ง 2 กลุ่ม ทุกคนมีผลบวกต่อแอนติบอดี SARS-CoV-2 เมื่อตรวจด้วย ELISA ขณะที่ 4 สัปดาห์หลังการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ค่า Ig รวมเฉลี่ยในกลุ่ม AZD1222 และกลุ่ม BNT162b2 เท่ากับ 16.48±0.41 และ 16.67±0.49 (p=0.75);  ค่า GMNT ในซีรั่มพื้นฐานเท่ากับ 5.74 (95% CI= 5.13, 6.43) และ 6.1 (95% CI= 5.30, 7.01) (p = 0.663); 4 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ค่า GMNT เพิ่มขึ้นเป็น 54.26 (95% CI= 42.18, 68.80) และ 190.27 (95% CI= 153.75, 235.47) (p < 0.001) เมื่อควบคุมตัวแปรอายุ ระยะเวลาระหว่างการได้รับวัคซีนเข็ม 2 กับเข็ม 3 อาชีพ พบบุคลากรทางการแพทย์มีสัดส่วนของแอนติบอดีเพิ่มขึ้น 4 เท่า 90% (78.2, 97.2) และ 100% (93.6, 100.0) (p = 0.882) ในกลุ่ม AZD1222 และกลุ่ม BNT162b2 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ การศึกษานี้แสดงให้ถึงแอนติบอดีที่สามารถลบล้างฤทธิ์ของไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายครบ 2 โดสและได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 1 โดสด้วยวัคซีน viral-vectored หรือ mRNA อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลลัพธ์ทางคลินิก และแอนติบอดีต่อสายพันธุ์อื่นๆ ด้วย

References

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard, Cases [Internet]. 2020 [cited 2022 Nov 9]. Available from: https://covid19.who.int/?mapFilter=cases

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard, Vaccination [Internet]. 2020 [cited 2022 Nov 9]. Available from: https://covid19.who.int/?mapFilter=vaccinations

Yorsaeng R, Suntronwong N, Phowatthanasathian H, et al. Immunogenicity of a third dose viral-vectored COVID-19 vaccine after receiving two-dose inactivated vaccines in healthy adults. Vaccine 2022;40:524–530.

Zhang Y, Zeng G, Pan H, Li C, Hu Y, Chu K, et al. Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine in healthy adults aged 18-59 years: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial. Lancet Infect Dis 2021;21(2):181–92.

Voysey M, Clemens SAC, Madhi SA, Weckx LY, Folegatti PM, Aley PK, et al. Safety and efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine (AZD1222) against SARSCoV-2: an interim analysis of four randomised controlled trials in Brazil, South Africa, and the UK. Lancet 2021;397(10269):99–111.

Madhi SA, Baillie V, Cutland CL, Voysey M, Koen AL, Fairlie L, et al. Efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 Covid-19 Vaccine against the B.1.351 Variant. N Engl J Med 2021;384(20):1885–98.

Flight L, Julious SA. Practical guide to sample size calculations: non-inferiority and equivalence trials. Pharmaceut Statist 2016;15:80–89.

Lerdsamran H, Mungaomklang A, Iamsirithaworn S, et al. Evaluation of different platforms for the detection of anti-SARS coronavirus-2 antibodies, Thailand. BMC Infect Dis. 2021;21(1):1213. DOI: 10.1186/s12879-021-06921-y

Pan H, Wu Q, Zeng G, Yang J, Jiang D, Deng X, et al. Immunogenicity and safety of a third dose, and immune persistence of CoronaVac vaccine in healthy adults aged 18-59 years: interim results from a double-blind, randomized, placebo-controlled phase 2 clinical trial. medRxiv 2021 [preprint]. DOI: https://doi.org/10.1101/2021.07.23.21261026

Wang K, Cao Y, Zhou Y, Wu J, Jia Z, Hu Y, et al. A third dose of inactivated vaccine augments the potency, breadth, and duration of anamnestic responses against SARS-CoV-2. medRxiv 2021 [preprint]. DOI: https://doi.org/10.1101/2021.09.02.21261735

Flaxman A, Marchevsky NG, Jenkin D, Aboagye J, Aley PK, Angus B, et al. Reactogenicity and immunogenicity after a late second dose or a third dose of ChAdOx1 nCoV-19 in the UK: a substudy of two randomised controlled trials (COV001 and COV002). Lancet 2021;398(10304):981–90.

Hall VG, Ferreira VH, Ku T, Ierullo M, Majchrzak-Kita B, Chaparro C, et al. Randomized Trial of a Third Dose of mRNA-1273 Vaccine in Transplant Recipients. N Engl J Med 2021;385(13):1244-1246. DOI: 10.1056/NEJMc2111462

Wilder-Smith A, Mulholland K. Effectiveness of an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine. N Engl J Med 2021;385(10):946–8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26