ผลการพัฒนาศักยภาพและบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ศักยภาพและบทบาทบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพและบทบาทของ อสม. ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดยโสธร ศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 112 คน และประชาชนอายุ 15-59 ปี จำนวน 239 คน ด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย อสม. ได้รับการพัฒนาศักยภาพและบทบาทของ อสม.ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้และพฤติกรรมดูแลตนเองสำหรับ อสม. และประชาชน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.82 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-test ผลการศึกษาพบว่า
อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.1 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 53.6 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 57.6 ภายหลังการพัฒนาศักยภาพ ทำให้ อสม. มีความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตามบทบาท เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<.001 และได้รับมอบหมายให้เสริมสร้างความรอบรู้สู่พฤติกรรมป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่ประชาชน ภายหลังการทดลอง ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างศักยภาพและบทบาท อสม.อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันตนเอง สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชน
References
World Health Organization. WHO Director-General’s opening remarks at the media briefing on COVID-19-11 March 2020 [internet]. 2020 [cited 2020 June 9]. Available from: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11-march-2020
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 48 ง (วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).
ระบบข้อมูลสาธารณสุข กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. รายงาน อสม. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/osm/province.php
เวหา เกษมสุข, รักชนก คชไกร. ความต้องการพัฒนาความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเยี่ยมบ้านผู้เป็นเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2558; 16(2):59-68.
กระทรวงสาธารณสุข. การรณรงค์ “เคาะประตูบ้านต้านโควิด-19”. หนังสือสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ สธ 0750.03/ว153 ลงวันที่ 3 มี.ค. 2563.
WHO (World Health Organization). อสม.ไทยกว่าล้านคน หรือ “ผู้ปิดทองหลังพระ” ช่วยสอดส่องดูแลให้ชุมชนห่างไกลโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/thailands-1-million-village-health-volunteers-unsung-heroes-are-helping-guard-communities-nationwide-from-covid-19-TH
Sun X, Shi Y, Zeng Q, Wang Y, Du W, Wei N, et al. Determinants of health literacy and health behavior regarding infectious respiratory diseases: a pathway model. BMC Public Health 2013; 13(261):1-8.
เอกราช มีแก้ว, วัลลภ ใจดี, สุนิศา แสงจันทร์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565; 32(1):74-87.
รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ, กมลพร แพทย์ชีพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564; 8(1):250-62.
ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, นิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(1):257-72.
สุวัฒนา อ่อนประสงค์, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์, พิทักษ์ กาญจนศร, คณยศ ชัยอาจ. ความรู้ และการปฏิบัติตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อการป้องกันโรคโควิด 19 จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564; 28(3):83-92.
สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(3):478-87.
สมพร เนติรัฐกร. แนวปฏิบัติในการดำเนินการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564; 4(2):111-20.
เจนจิรา เกียรติสินทรัพย, สาริณี โต๊ะทอง. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: บทบาทหน้าที่การดูแลสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19. วารสารการแพทย์-โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(2):314-23.
Bloom BS, Hastings T, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง การป้องกันวัณโรคในชุมชน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2564; 1(2):75-90.
จิรยุทธ์ คงนุ่น. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดพิจิตร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2564; 3(3):40-51.
วิทยา ชินบุตร, นภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(2):304-18.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, บุญประจักษ์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(12):360-75.
มานิตา ทาแดง, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22(2):189-200.
จันทิมา ห้าวหาญ, พรรณวดี ขำจริง. ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563; 19 กุมภาพันธ์ 2564; วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้, นครศรีธรรมราช: 2564. หน้า 169-178.
กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฏกาจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1):200-12.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู, กชกร ฉายากุล. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2563; 12(3):195-212.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว