อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 และพฤติกรรมการจัดการตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ติดเชื้อโควิด-19 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ รุ่งเรือง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทวีวรรณ ศรีสุขคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, พฤติกรรมการจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19 การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการจัดการตนเอง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หลังติดเชื้อโควิด-19 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน-15 พฤศจิกายน 2565 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของความรอบรู้ด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19 การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการจัดการตนเอง เท่ากับ 0.83, 0.77 และ 0.88 ตามลำดับ โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.2 ปี จบการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 59.8 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 74.2 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 7,313.6 บาท มีระยะเวลาในการเป็น อสม. โดยเฉลี่ย 12.7 ปี และมีอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ร้อยละ 86.4 กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19 และการรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการจัดการตนเอง อยู่ในระดับสูง สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองหลังติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ ปัจจัยด้านเพศ ส่วนปัจจัยด้านความรอบรู้ในวิกฤตโรคโควิด-19 การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง และระยะเวลาในการเป็น อสม. มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.444, r=0.381, r=0.299, r=0.270 และ r=0.231 ตามลำดับ) ด้วยเหตุนี้ พื้นที่ควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ และการรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ให้แก่ อสม. เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถให้ อสม. ต่อไปได้

References

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. [cited 2022 Aug 8]. Available from: https://covid19.who.int/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard//

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดน่าน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/?fbclid=IwAR28ppvM70Mfht0y7pFw8AqmJUtojHD60zh8JuvPLNzh2X8nV8gagZ2PMA

โรงพยาบาลนาน้อย. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน [ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2565].

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ยี่สิบห้า มีเดีย จำกัด; 2564.

สมาคมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดน่าน. รายงานสถิติการติดเชื้อโควิด-19 ของ อสม.จังหวัดน่าน [ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2565].

สิทธิชัย ตันติภาสวสิน. ลองโควิด Long COVID. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2565; 47(1):1-2.

ธมภร โพธิรุด, สุมิตรา พรานฟาน, กวิสรา สงเคราะห์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเชียงกลางจังหวัดน่าน. วารสารพยาบาล 2563; 69(2):11-20.

ปียนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, กันนิษฐา มาเห็ม, ชลทิพย์ สุภาพินิจ, ปานทิพย์ พึ่งไท. การพัฒนาแนวทางสนับสนุนการจัดการตนเอง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564; 41(4):100-14.

Kurnia AD, Amatayakul A, Karuncharempanit S. Diabetes Self Management among Adults with Type 2 Diabetes Mellitus in Malang, Indonesia. International Journal of Tropical Medicine 2012; 12(2):25-8.

ศิรินทรา ด้วงใส. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองแบบ 5 เอ ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

สุพิชา อาจคิดการ, ลินจง โปธิบาล, ดวงฤดี ลาศุขะ. พฤติกรรมการจัดการตนเองและปัจจัยทำนายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. พยาบาลสาร 2556; 40:22-32.

ประกาย จิโรจน์กุล. แนวคิด ทฤษฎี การสร้างเสริมสุขภาพและการนำมาใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธนาเพรส จำกัด; 2556.

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2558; 26:117-27.

เชษฐา งามจรัส, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. n4Studies: Sample Size and Power Calculations for iOS [ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก โครงการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย] สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

Duong TV, Aringazina A, Baisunova G, Nurjanah N, Pham TV, Pham KM, et al. Development and validation of a new short- form health literacy instrument (HLS-SF12) for the general public in six Asian countries. Health Lit. Res. Pract. 2019; 3(2):91-102.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc; 1977.

Yazdanpanah M, Zobeidi T, Moghadam MT, Komendantova N, Lohr K, Siebere S. Cognitive theory of stress and farmers’ responses to the COVID-19 shock; a model to assess coping behaviors with stress among farmers in southern Iran. International Journal of Disaster Risk Reduction 2021; 64:1-8.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล, สุภาพ ฉัตราภรณ์. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2536.

มณฑิรา ชาญณรงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565; 28(1):1-16.

Yelin D, Margalit I, Yahav D, Runold M, Bruchfeld J. Long COVID-19-it's not over until. Clinical Microbiology and Infection 2021; 27:506-8.

จักรพันธ์ ศุภเดช, ริชาพรรณ ซูแกล้ว, ดวงสมร เกียรติสุดา. จะป้องกันแม่ท้อง แม่ให้นมติดเชื้อโควิดไม่ให้เป็น Long COVID Post COVID Syndrome ได้อย่างไร [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://library.thaibf.com/handle/023548404.11/612

เพ็ญศรี หงษ์พานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด -19 ของประชาชนจังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564; 7(3):174-85.

ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาชิม, นิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(1):257-71.

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดาม ชัยวัง, พรภิมล กรกกฎกำจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1):200-12.

กัญญารัตน์ ทับไทร, จุทาทิพย์ เปรมเสน่ห์, เบ็ญจวัน ขำเกื้อ, สาวิตรี โสภณ, ธนูศิลป์ สลีอ่อน. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2565; (1):1-9.

ภัทรนุช วิทูรสกุล, ชญาภา ชัยสุวรรณ, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2564; 39(4):41-54.

จิตรา มูลทิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2564; 27(2):5-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29