การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ปิยะพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค, พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภออุทุมพรพิสัย โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนอำเภออุทุมพรพิสัย จำนวน 349 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์หาปัจจัยทำนายด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple linear regression) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) อำเภออุทุมพรพิสัย ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเขตอำเภออุทุมพิสัย รวมทั้งสิ้น 48 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา  ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุมเปรียบเทียบกลุ่มละ 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent sample t-test ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่มกราคม 2565 ถึงธันวาคม 2565

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อำเภออุทุมพรพิสัย ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันและควบคุมโรค บรรทัดฐานทางสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้อุปสรรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า F=23.405, p<0.001) โดยทั้ง 4 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้ร้อยละ 20.5 (R2=0.214, R2adj=0.205) รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภออุทุมพรพิสัย คือ SCR3SD ดังนี้ 1) Structure & Policy: คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เข้มแข็ง ร่วมกำหนดนโยบายและบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน มีระบบการประชุมติดตามสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 2) Coordination and Networking: การประสานงานระหว่างองค์กร บุคลากรเกี่ยวข้องเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการร่วมกันแก้ปัญหา 3) Resource sharing: การสนับสนุน แบ่งปันทรัพยากรและใช้ประโยชน์ร่วมกัน 4) Social Awareness: สร้างความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างคุณค่า การระดมทุนของทุกองค์กรในชุมชน 5) Service system: การสร้างระบบคัดกรองที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงหน่วยบริการ การเข้าถึงระบบการรักษาของผู้ป่วย 6) Self-care: การเพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี 7) Development & Evaluation: การเกาะติดในการติดตามประเมินผลของทีมที่มีความพร้อม และการผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่วนการประเมินผลรูปแบบพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ บรรทัดฐานทางสังคม แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้อุปสรรค การมีส่วนร่วม การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคฯ พฤติกรรมการป้องกันการโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนอำเภออุทุมพรพิสัย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภออุทุมพรพิสัย ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

References

สถาบันวิจัยจัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย); 2559.

พรชีรา ชูสอน. มะเร็งท่อน้ำดีโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนอีสานอันดับ 1. วารสารโครงการ CASCAP โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2 ต.ค. 2564]; 1(2):12-6. เข้าถึงได้จาก: https://cascap.kku.ac.th/wp-content/uploads/2016/11/cascap-issue02.pdf

บรรจบ ศรีภา, พวงรัตน์ ยงวณิชย์, ชวลิต ไพโรจน์กุล. สาเหตุและกลไกการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีปฐมบทความสัมพันธ์กับพยาธิใบไม้ตับ. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2548; 20(3):123-31.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. แนวทางการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ ปี 2563. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย. รายงานผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิอำเภออุทุมพรพิสัย ประจำปี 2563. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย; 2563.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขะยูง. สรุปรายงานผลการดำเนินงานผลการควบคุมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขะยูง ปี 2563. ศรีสะเกษ; 2563.

วรวุฒิ นามวงศ์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการกลุ่มเพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับซ้ำในประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2562. 98 หน้า.

กลุ่มโรคหนอนพยาธิ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์ โรค หนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย ปี 2552. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย. แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rded. Victoria: Deakin University; 1988.

Ken K, Scott EM. Sample Size for Multiple Regression: Obtaining Regression Coefficients That Are Accurate, Not Simply Significan. Psychological Methods 2003; 8(3):305-21.

สุคนธ์ทิพย์ นรสาร. การบูรณาการการดูแลระยะยาวในการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564. 271 หน้า.

ทวีเลิศ ชายงาม, ลิขิต เรืองจรัส, ศุมาลิณ ดีจันทร์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ตำบลเมืองใหม่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2):1-15.

เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562. 144 หน้า.

นันทพร ศรีนอก. รูปแบบการดำเนินงานการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556. 136 หน้า.

นิศร ผานคำ. กระบวนพัฒนารูปแบบการดำเนินการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557. 128 หน้า.

ศิวภรณ์ เงินราง. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2:108-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29