ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัย, พฤติกรรมการป้องกัน, การติดเชื้อวัณโรคบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ราย ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเภทตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การถดถอยพหุโลจิสติก และวิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Odds Ratio และค่าช่วงเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง (OR = 5.79, 95% CI = 1.36 - 24.64) ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในระดับสูง (OR = 2.18, 95% CI = 1.11 - 4.30) และความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในระดับปานกลาง (OR = 2.09, 95% CI = 1.11 - 3.95)
ดังนั้น การพัฒนาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคโดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและความรอบรู้ด้านสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น จะช่วยให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค และการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนได้เป็นอย่างดี
References
World Health Organization. Global tuberculosis report 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.
สำนักวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. สถานการณ์โรควัณโรค จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี; 2564.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา. สถานการณ์โรควัณโรค อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา; 2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2562.
Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences, 7th edition. New York: John Wiley and Sons Inc; 1999.
รำไพ รอยเวียงคำ, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันวัณโรคของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา 2564; 44(2):64-81.
World Health Organization. WHO STEPS surveillance manual: the WHO STEPwise approach to chronic disease risk factor surveillance / noncommunicable diseases and mental health. Gevena: World Health Organisation; 2017.
Kim YJ, Oh Y, Park S, Cho S, Park H. Stratified sampling design based on data mining. Healthc Inform Res 2013; 19(3):186-95.
กองสุขศึกษา. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องการป้องกันวัณโรคในชุมชน สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
ธีระพงษ์ จ่าพุลี. พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
Sokhanya I, Sermsri S, Chompikul J. TB preventive behavior of patients consulting at the general out-patient department at Paholpolpayuhasana hospital, Kanchanaburi province, Thailand. J Public Health Dev 2008; 6(1):59-68.
Yang SH, Jung EY, Yoo YS. Health literacy, knowledge, and self-care behaviors in patients with pulmonary tuberculosis living in community. J Korean Acad Fundam Nurs 2020; 27(1):1-11.
Finnie RK, Khoza LB, van den Borne B, Mabunda T, Abotchie P, Mullen PD. Factors associated with patient and health care system delay in diagnosis and treatment for TB in sub-Saharan African countries with high burdens of TB and HIV. Trop Med Int Health 2011; 16(4):394-411.
Mubarokah K, Rachmani E, Nurjanah N, Handayani S. Tuberculosis literacy supports preventive behaviour among workers in Semarang, Indonesia. Ann Trop Med Public Health 2021; 24(1):1-10.
Ramezannia P, Shahroudi MV, Tehrani H, Esmaili H. Relationship between the behaviour of patients with tuberculosis and the health literacy of Mashhad caregivers. J Adv Biomed Sci 2020; 10(4):1-10.
Edward J, Carreon LY, Williams MV, Glassman S, Li J. The importance and impact of patients’ health literacy on low back pain management: a systematic review of literature. Spine J 2018; 18(2):370-6.
American Medical Association. Health literacy: report of the council on scientific affairs, Ad Hoc committee on health literacy for the council on scientific affairs, American Medical Association. Jama 1999; 281(6):552-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว