การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • อนุสร วุฒิกิจ โรงพยาบาลแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
  • มัณฑนา มะโนรมย์ โรงพยาบาลแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
  • ศิริพร ปัญญา โรงพยาบาลแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางด่วน, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามกรอบแนวคิดของสติงเกอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลแหลมสิงห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด จำนวน 49 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการโรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 เป็นแพทย์ผู้รับผิดชอบ NCD clinic จำนวน 1 คน กลุ่มที่ 3 เป็นพยาบาลผู้รับผิดชอบ NCD clinic จำนวน 4 คน และกลุ่มที่ 4 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 14 คน ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พินิจพิเคราะห์ ระยะที่ 2 คิดวิเคราะห์ และระยะที่ 3 ระยะปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประเด็นการประชุม คู่มือการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมการเข้าถึงระบบบริการทางด่วน และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ 2MP ประกอบไปด้วย 1) M (Man) คือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ ผู้ป่วยและอสม. 2) M (Material) ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และ 3) P (process) ได้แก่ กระบวนการในการเตรียมพัฒนารูปแบบ การนำรูปแบบไปใช้และการประเมินผล ภายหลังการพัฒนารูปแบบพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.001) และมีทักษะในการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.001) ร้อยละของการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนได้ทันเวลา คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 63.33 นาที

ผลการศึกษาที่ได้ โรงพยาบาลแหลมสิงห์ควรนำรูปแบบที่เกิดขึ้น และหน่วยงานทางด้านสุขภาพที่มีลักษณะปัญหาคล้ายคลึงกันควรนำรูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในพื้นที่

References

กชพรรณ ศรีท้วม. รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2561; 5(3):43-56.

อรทัย มานะธุระ. ผลการพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ เรื่องอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและญาติตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562; 13(32):206-21.

Stringer ET. Action Research [Internet]. California: SAGE; 2014 [cited 2021 May 14]. 2 p. Available form: https://jisrmsse.szabist.edu.pk/index.php/szabist/article/view/437

Cohen H. Statistics power analysis for the behavior science [Internet]. Hillsdale, NJ: Lawrence Erbaun; 1988 [cited 2021 May 14]. 579 p. Available form: https://www.utstat.toronto.edu/~brunner/oldclass/378f16/readings/CohenPower.pdf

บุญญรัตน์ เพิกเดช. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2563; 34(3):7-21.

ยุวดี ผงสา. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563; 2(2):139-54.

เกตุกาล ทิพย์ทิมพ์วงศ์. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยมและเครือข่าย. การประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2; วันที่ 10-11 สิงหาคม 2563; โรงแรมท๊อปแลนด์. พิษณุโลก; 2563.

สงบ บุญทองโท, นิสากร วิบูลชัย, องุ่น บุตรบ้านเขวา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2560; 14(3):100-13.

เสกสรรค์ จวงจันทร์, กมลรัตน์ จูมสีมา, วีระชาติ วรธรรม. การพัฒนารูปแบบการดูแลโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2562; 17(2):5-18.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล, นิสากร วิบูลชัย, วิไลพร พิณนาดิเลย์, จุลินทร ศรีโพนทัน, เบญจพร เองวานิช. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 30(2):80-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-13