การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไตวายระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • อุดมศักดิ์ บุญส่งทรัพย์ โรงพยาบาลเลย
  • เสริมสุข ธัญญะวัน โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบดูแลผู้สูงอายุไตวายระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดยไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมกับเครือข่ายจังหวัดเลยและศึกษาผลการประเมินรูปแบบดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคไตเรื้อรัง เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนเมษายน 2565 - มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานจากอาการ การรับรู้คุณภาพ และด้านคุณภาพชีวิตการดูแลโดยรวมก่อนและหลัง โดยสถิติ Wilcoxon Signed rank Test 

ผลการศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไตวายระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง เป็นการพิจารณาความเหมาะสมของทางเลือกการรักษาระหว่างผู้ป่วย แพทย์ และทีมรักษา ข้อดี ข้อเสียของวิธีรักษาต่างๆ อ้างอิงอาการทางคลินิก อายุ ความรุนแรง โรคร่วมของผู้ป่วย รวมทั้งปัจจัยด้านสังคมและผู้ดูแล รวมถึงวิธีการดูแลตลอดวิถีของการเจ็บป่วยจนถึงเสียชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา มีค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 72 (Max-Min=62-90) ค่ามัธยฐานการทำงานของไต (eGFR) เท่ากับ 8.92 (Max-Min=27.71-1.60) ผลการทดสอบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยของอาการรบกวนก่อนและหลังใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุไตวายระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง พบว่าคะแนนเฉลี่ยอาการรบกวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับคุณภาพชีวิตก่อนเข้ารับการดูแลแบบประคับประคองโดยรวมในระดับต่ำ (x̅=40.16, SD=16.87) เมื่อได้รับการดูแลตามรูปแบบการดูแลที่ได้พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅=51.96, SD=16.15) ผลการทดสอบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์ด้านคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นการพิจารณารับผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาด้วยวิธีการดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยและญาติจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต ข้อมูลทางเลือกการรักษาแต่ละทาง โดยแต่ละข้อมีข้อดีข้อด้อยและรายละเอียด รวมถึงได้รับข้อมูลสภาวะโรค พยากรณ์โรค ระยะเวลาการรอดชีวิต ประโยชน์ ความเสี่ยง คุณภาพชีวิตที่จะได้รับในทางเลือกแต่ละแบบตลอดระยะการดำเนินโรค จำเป็นต้องพิจารณาหลายด้านร่วมกัน ได้แก่ อายุ ภาวะโรคเรื้อรังร่วม พยากรณ์โรค รวมทั้งปัจจัยทางด้านสังคมและบริบทที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุไตวายระยะสุดท้าย แบบประคับประคองนี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อน ลดความทุกข์จากโรคและเป็นการให้การดูแลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย 

References

Levey AS, Coresh J, Balk E, Kausz AT, Levin A, Steffes MW, et al. Nation kidney foundation practice guideline for chronic kidney disease: Evaluation classification and stratification. American College of physicians 2003; 139(2):137-47.

World health organization. The World Health report 2002 Reducing risks, promoting healthy life Geneva World health organization [Internet]. 2002 [cited 2022 July 10]. Available from: http://scholar.google.com

Chuasuwan A, Praditpornsilpa K. Thailand renal replacement therapy registry report 2012. Bangkok: The Nephrology Society of Thailand; 2012.

Carson RC, Juszczak M, Davenport A, Burns A. Is maximum conservative management an equivalent treatment option to dialysis for elderly patients with significant comorbid disease. Clin J Am Soc Nephrol 2009; 4(10):6111-9. doi:10.2215/CJN.00510109

Murtagh FEM, Marsh JE, Donohoe P, Ekbol NJ, Sheerin NS, Harris FE. Dialysis or not? A comparative survival study of patients over 75 years with chronic kidney disease stage 5. Nephrol Dial Transplant 2007; 22(7):1955-62. doi:10.1093/ndt/gfm153

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเท็กซ์แอน เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.

Palliative care Outcome Scale. IPOS-Renal Patient version: 2015 [Internet]. London: Cicely Saunder Institute; 2012. [cited 2023 Jul 15]. 2 p. Available from: https://pos-pal.org/maix/ipos-renal-in-english.php

วงศ์ทิพารัตน์ มัณยานนท์, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช. การทดสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไต (KDQOL-SFTM) ฉบับภาษาไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553; 2(1):15-23.

ศูนย์การุณรักษ์. แบบคัดกรองผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2566]. 3 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://www.Karunruk.org/renal-palliative-care-clinic

National Institute for Health and Clinical Excellent. NICE path-ways management of stage 5 CKD [Internet]. 2021 [cited 2023 May 13]. Available from: https://www.nice.org.uk/guidance/ng203

Deangsibua A, Topark-ngarm A, Tatiyanupanwong S, Limwattananon C. Following up of stage 5 kidney disease patients managed with non-dialysis treatment. Journal of Health System research 2015; 9(2):181-92.

Brown MA, Collett GK, Josland EA, Foote C, Li Q, Brennan FP. CKD in elderly patients managed without dialysis: survival, symptoms and quality of life. Clin Soc Nephrol 2015; 10(2):260-8. doi:10.2215/CJN.03330414

ญาณิศา สุริยะบรรเทิง, ภควีร์ นาคะวิโร. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคอง โดยไม่รับการบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 10:49-60.

เย็นอุรา สัตยาวัน. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ใช้การรักษาแบบประคับประคอง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565; 30:435-45.

Fitzsimons D, Mullan D, Wilson JS, Conway B, Corcoran B, Dempster M. The challenge of patients unmet palliative care needs in the final stage of chronic illness. Palliat Med 2007; 21(4):313-22. doi:10.1177/0269216307077711

Echevers YM, Gaibor NGT, Perez NN, Martin FB, Delgado RM, Riscos MAG. Survival of patients ≥70 years with advanced chronic kidney disease: Dialysis vs. conservative care. Nefrologia 2016; 36(3):283-91. doi:10.1016/j.nefro.2015.11.006

ภัทรศร นพฤทธิ์, อารมณ์ พรหมดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16:96-108.

Vicheanpuk R. Development of quality care for palliative care in patients with end stage renal disease Kamalasia Hospital. Journal of Health and Environmental Education 2020; 5:10-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-13