ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะลองโควิดในกลุ่มผู้มีประวัติติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กมลรัตน์ โสประโคน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กัลยา อินธิเดช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อภิญญา ดวงสิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โควิด-19, ภาวะลองโควิดหลังติดเชื้อโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะลองโควิดในกลุ่มผู้มีประวัติติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ดำเนินการวิจัยช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 146 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาและสุ่มแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองที่ทีมนักวิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ Odds ratio ที่ความเชื่อมั่น 95%CI

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยนำที่มีโอกาสเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิดหลังติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ เพศ (OR 1.96, 95%CI = 0.95-4.07) จำนวนครั้งที่เคยติดเชื้อโควิด-19 (OR 1.33, 95%CI = 0.40-4.38) อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างติดเชื้อ ได้แก่ ไอ (OR 1.76, 95%CI = 0.86-3.61) นอนไม่หลับ (OR 4.67, 95%CI = 0.58-37.68) ปวดศีรษะ (OR 1.28, 95%CI = 0.56-2.94) อ่อนเพลีย (OR 2.16, 95%CI = 0.822-5.712) เวียนศีรษะ (OR 2.911, 95%CI = 0.943-8.993) เจ็บหน้าอก (OR 1.31, 95%CI = 0.25-6.77) เจ็บคอ (OR 1.38, 95%CI = 0.67-2.84) จาม/มีน้ำมูก (OR 1.13, 95%CI = 0.50-2.55) ปัจจัยเอื้อที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิดหลังติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ สิทธิการรักษา (OR 1.24, 95%CI = 0.59-2.61) ตัวแปรดังกล่าวข้างต้นยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อเสนอแนะควรมีการส่งเสริมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะลองโควิดหลังติดเชื้อโควิด-19 โดยการออกกำลังกายดูแลตนเองเป็นพิเศษขณะติดเชื้อโควิด-19 หลังฉีดวัคซีนยังต้องคงมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือ หน่วยงานต่างๆ ควรให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง ผู้สูงอายุ และผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว

References

กรมอนามัย. ข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อสะสม ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th

ศูนย์ข้อมูลโควิด-19. ยอดสะสมการฉีดวัคซีน [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prd.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวัน จังหวัดชลบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cbo.moph.go.th/cbo

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่างศิลา. ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://gishealth.moph.go.th/pcu/admin/report.php

กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลรักษาโรคโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12(1):39-48.

กรมการแพทย์. อาการหลงเหลือหลังจากหายป่วยโควิด-19 หรือภาวะลองโควิด. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=31779

เมธาวี หวังชาลาบวร, ศรัณย์วีระ เมธาชัย, ธนกม ณลีศรี. ความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565; 16(1):265-84.

Lwanga S, Lemeshow S. Sample size determination in health studies: a practical manual. World Health Organization [Internet]. 1991 [cited 2022 Jul 21]. Available from: https://apps.who.int/9

ยงเจือ เหล่าศิริถาวร. การวัดทางระบาดวิทยา [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20170616074858.pdf

ซำแก้ว หวานวารี. สถิติในเวชปฏิบัติ [อินเตอร์เน็ต]. 2547 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/fammed/sites/default/files/public/pdf/Stat.pdf12

เสถียร เชื้อลี, รับขวัญ เชื้อลี, คณัฐวุฒิ หลวงเทพ. ความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ของนักศึกษา: กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2565; 20(1):49-62.

จารุวรรณ รุ่งเรือง, ทวีวรรณ ศรีสุขคำ. อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 และพฤติกรรมการจัดการตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ติดเชื้อโควิด-19 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2566; 21(1):37-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28