ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กันต์กนิษฐ์ ทวีทรัพย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กิตติวรรณ มั่นถิ่น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เดชา วรรณพาหุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความตระหนักรู้, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคอ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบถามตอบด้วยตนเองที่นักวิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคว์สแควร์

ผลการศึกษาอัตราความชุกโรคอ้วนในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีภาวะอ้วน คิดเป็นร้อยละ 30.9 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วน พบว่า พันธุกรรม (p-value 0.017) โรคประจำตัว (p-value 0.003) ความตระหนักรู้ต่อภาวะอ้วนของตนเอง (p-value 0.001) และพฤติกรรมการบริโภค (p-value 0.005) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้และพฤติกรรมบริโภค โดยมีการสนับสนุนทางสังคมจากผู้ปกครองจึงมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในนักเรียน

References

พลอยปารียา อายะนันท์, ตุนท์ ชมชื่น, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดโรคของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563; 7(1):75-9.

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. ความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(1):3-7.

กรุงเทพธุรกิจ. โรคอ้วน กระทบเศรษฐกิจ 13.2% ของงบประมาณสาธารณสุขทั่วโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/social/991651

กัลยาณี โนอินทร์. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(ฉบับพิเศษ):2-6.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพจังหวัดชลบุรี. ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.at/eDKL4

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพจังหวัดชลบุรี. ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.at/eDKL4

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพจังหวัดชลบุรี. ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.at/eDKL4

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th edition. New York: Wiley & Sons; 1995.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด (ST5) [อินเตอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/qtest5/asheet.asp?qid=1

อรรถกร ทองสิงห์, อัครินทร์ โพธิ์ทอง, สุทัศน์ สมบัติ, ฐิติการ ศรีสำอาง, พิณรัตน์ นุชโพธิ์, ศุภศิว์ สุวรรณเกษร. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดภาวะโรคอ้วนของนักเรียนหล่มเก่าพิทยาคม ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม; 2560. 14 หน้า.

กุลธิดา เหมาเพชร. พฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 10; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน, นครปฐม: 2555. หน้า 3065-80.

วรรณกร พลพิชัย, จันทรา อุ้ยเอ้ง. รายงานวิจัยเรื่อง การป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของเยาวชนในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2562.

ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์, ลัดดาวัลย์ กงพลี. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2561; ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี:89-92.

ปรัชญา เพชรโอภาส, กุลวลี ฉายอรุณ, สุจิตรปา สินสืบผล, แสงเงิน สาทิพจันทร์, เอมอร อุไรโชติ. แบบแผนความเชื่อ แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวโกรก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารควบคุมโรค 2564; 48(4):785-95.

มลิวัลย์ สมศักดิ์. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล [อินเตอร์เน็ต]. 2547. [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://oservice.skru.ac.th/ebookft/286/chapter10.pdf

Medpark hospital. โรคอ้วน [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 18 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/obesity

มรกต สุวรรณการ. สาเหตุทางพันธุกรรมของโรคอ้วน. วารสารโภชนบำบัด 2564; 29(1):16-23.

นนทิยา กาลิ้ม. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564; 1(1):37-48.

สุนิตรา ทองดี. ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. Journal of the Phrae Hospital 2561; 27(1):38-50.

บุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์, อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, กันตวิชญ์ จูเปรมปรี, สายฝน วรรณขาว. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ 2563; 12(2):216-29.

จามจุรี แซ่หลู่, นภาวรรณ วิริยะศิริกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2563; 7(11):2-15.

พิชามญชุ์ วิกรานต์วาณิชย์. โรคอ้วน [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 27 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.at/flqS2

ชนาธิป ญานุรักษ์. พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563. 14 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28