พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อ และภัยสุขภาพระหว่างประเทศ จังหวัดมุกดาหาร - แขวงสะหวันนะเขต

ผู้แต่ง

  • พันธ์ฉวี สุขบัติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
  • ภัทรพร ติสารัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ความร่วมมือ, การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลระบบการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพระหว่างประเทศ จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพระหว่างประเทศ จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต 3) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพระหว่างประเทศ จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต โดยกลุ่มประชากรในการศึกษา มีจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test

ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายในการดำเนินงานบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพระหว่างประเทศ จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต ประชากรในการศึกษาจังหวัดมุกดาหาร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.00 กลุ่มอายุที่มีมากที่สุดคือ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.00 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 โดยส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 60.00 บทบาทในการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มด้านการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 52.00 ส่วนแขวงสะหวันนะเขต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 72.00 กลุ่มอายุที่มีมากที่สุดคือ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.00 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.00 โดยส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 60.00 และบทบาทในการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มด้านการแพทย์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 รูปแบบการบริหารจัดการที่ได้คือ 2P2T3CoJcR หมายถึง 2P คือแผนการดำเนินงาน 2 แผน ได้แก่ แผนภาวะฉุกเฉินและแผนภาวะปกติ 2T คือ ทีมปฏิบัติการ 2 ทีม ได้แก่ ทีมจากจังหวัดมุกดาหาร และทีมจากแขวงสะหวันนะเขต 3Co คือ การประสานงาน 3 ส่วน ได้แก่ การประสานระดับผู้บัญชาการเหตุการณ์ ระดับทีมปฏิบัติการ และระดับทีมสนับสนุน Jc คือ การบัญชาการร่วมกันระหว่างผู้บัญชาการจากจังหวัดมุกดาหารและแขวงสะหวันนะเขต R คือ การสื่อสารสาธารณะ การแถลงข่าว

ผลการทดสอบคะแนนค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อและภัยสุขภาพระหว่างประเทศจังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต ของทีมบัญชาการเหตุการณ์ ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง และทีมสนับสนุนการปฏิบัติการ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คชพล คชพลายุกต์. ข้อมูลทั่วไป [อินเตอร์เน็ต]. สวท.มุกดาหาร; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNSOC6104200010096

สุนทรีย์ ทับมาโนช. บันทึก MOU ด้านสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 21 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG230918184252415

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ภาพรวมทั่วโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php

กิติมา ปรีดีดิลก. กระบวนการบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต; 2532.

กุลนัดดา สายสอน. กระบวนการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การสำหรับธุรกิจก่อสร้างและที่พักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2560.

พวงเพชร จินะวงศ์. การพัฒนาความสามารถในการแนะแนวของครูโรงเรียนชุมชนสันป่ายางหลวงด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม [วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต]. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง; 2549.

ดำรง ธำรงเลาหะพันธุ์. การศึกษามาตรการของประเทศไทยในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนแรงงานต่างด้าว [รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 11 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ]. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการต่างประเทศ; 2562.

พิมณทิพา มาลาหอม, ณัฐกฤตย์ เสงี่ยมศักดิ์, ธนาวุฒิ พรมดี, วรวุฒิ พงษ์อุดม. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทย-ลาว กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีกับแขวงจำปาสัก สปป.ลาว. เชียงรายเวชสาร 2562; 11(1):55-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-13