ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไคร้ ตำบลหนองหล่ม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ชัชชฎาภร พิศมร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • จันทกานต์ อุ่นถิ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ดวงฤทัย เชียงแขก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ทองสาย ใจคำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไคร้

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เสี่ยงภาวะพลัดตกหกล้ม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไคร้ จำนวน 103 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบเชิงอนุมาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า เพศมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.020 อายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.177 ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.309 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.646 จากการศึกษาผู้สูงอายุมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ระดับสูง แต่ยังมีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาจัดทำแนวทางประยุกต์กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และวางแผนแก้ไขปัญหา ป้องกัน และลดความเสี่ยงพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766

ณัฐชยา พวงทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2565; 38(1):73-85.

เยาวลักษณ์ คุมขวัญ, อภิรดี คำเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย, นิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ บริบทของประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 28(3):10-21.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไคร้. การคัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ปี พ.ศ. 2565. เอกสารอัดสำเนา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์; 2544.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. NewYork: McGraw Hill Book Co; 1976.

Hinkle DE, William W, Stephen GJ. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th edition. New York: Houghton Mifflin; 1998.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม, วรัญญา มณีรัตน์, จุฑามาศ เมืองมูล. ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(4):132-41.

กมลทิพย์ หลักมั่น. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน [การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

พิกุล ตินามาส, ภัทรานิษฐ์ จองแก, ทิพย์สุดา เส็งพานิช. พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของผู้สูงอายุ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2561; 24(2):73-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28