ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค ของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พลอยไพลิน จินตนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เทียนทอง ต๊ะแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรม, วัณโรค, ผู้สัมผัส

บทคัดย่อ

การวิจัยวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลาปาง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในระดับสูง (mean = 4.52, SD = 0.32) ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคได้ มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 1) ด้านทักษะการตัดสินใจ 2) ด้านความรู้ความเข้าใจ และ 3) สิ่งแวดล้อมด้านลักษณะที่อยู่อาศัย/ที่ทำงาน ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคได้ ร้อยละ 25 (Adj. R2 = 0.250, F = 24.505, p-value <0.001) โดยทักษะการตัดสินใจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด รองลงมา คือ ความรู้ความเข้าใจ ส่วนลักษณะที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค

References

Organization WHO. Tuberculosis Global Report 2022. Geneva Switzerland; 2022.

กองวัณโรค. แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอวังเหนือ. รายงานประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอวังเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2564. ลำปาง: โรงพยาบาลวังเหนือ; 2564.

Rana MM, Islam M, Wadood M, Sayed A, Mamun M, Hossain G. Factors Associated with Tuberculosis: A Case Control Study in Rajshahi City, Bangladesh. International Journal of Statistical Sciences 2022; 22:77-86.

Phengphayom S. Factors related to pulmonary tuberculosis in risk group of population Lampang province. Journal of Council of Community Public 2021; 3:109-18.

กมลวรรณ อิ่มด้วง, กชรดา ศิริผล, กัลยาณี นาคฤทธิ์, ฐาปะนีย์ การิกาญจน์, ละมุน แสงสุวรรณ, วิเชียร ตระกูลกลกิจ และคณะ. สถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ในเขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565; 9:76-92.

สำนักวัณโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

Maseng N, Woradet S, Chaimay B. Factors associated with tuberculosis infection among household contacts living with tuberculosis patients: literature review. UBRU Journal for Public Health Research 2020; 9:32-46.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15:259-67.

Olayemi OM, Madukoma E, Yacob H. Health information literacy of tuberculosis patients in DOT centers in Lagos state, Nigeria. Frontiers in Health Informatics 2022; 11:117.

Koothanawanichphong C. FACTOR ASSOCIATED TO PULMONARY TUBERCULOSIS AMONG NEW CASES SONGPHINONG DISTRICT, SUPHANBURI PROVINCE. Journal of MCU Nakhondhat 2020; 7:244-56.

Penaloza R, Navarro JI, Jolly PE, Junkins A, Seas C, Otero L. Health literacy and knowledge related to tuberculosis among outpatients at a referral hospital in Lima, Peru. Research and reports in tropical medicine 2019; 10:1-10.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์การพิมพ์; 2553.

Bloom BS. Toward a theory of testing which includes measurement-evaluation-assessment: University of California; 1968.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. Boston: Allyn and Bacon; 1997.

Sawangsuk C, Nakagasien P. Factors predicting preventive behaviors of pulmonary tuberculosis among high school students in Bangkok. Chulalongkorn Medical Journal 2021; 65:369-78.

Rakpaitoon S, Thanapop S, Thanapop C. Correctional Officers’ Health Literacy and Practices for Pulmonary Tuberculosis Prevention in Prison. International Journal of Environmental Research and Public Health 2022; 19(18):11297.

นาปีเส๊าะ มะเซ็ง. รายงานวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.

Rathomi H, Romadhona N, editors. Determinants of tuberculosis-preventive behavior in rural areas of Indonesia. Medical Technology and Environmental Health: Proceedings of the Medicine and Global Health Research Symposium (MoRes 2019), 22-23 October 2019, Bandung, Indonesia; 2020: CRC Press.

Teli M, Selasa P, Poddar S. Family Healthcare Tasks to Prevent the Transmission of Pulmonary Tuberculosis (TB) Among Family Having a Household Contact in Eastern Indonesia. Malaysian Journal of Medicine & Health Sciences 2022; 18(SUPP2):168-75.

Puspitasari IM, Sinuraya RK, Aminudin AN, Kamilah RR. Knowledge, attitudes, and preventative behavior toward tuberculosis in university students in Indonesia. Infection and Drug Resistance 2022; 15:4721-33.

Chen X, Chen H. Differences in Preventive Behaviors of COVID-19 between Urban and Rural Residents: Lessons Learned from A Cross-Sectional Study in China. International Journal of Environmental Research and Public Health 2020; 17(12):4437.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25