รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาปัญหาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2) พัฒนารูปแบบ และประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นค้นหาปัญหา (Look) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มละ 30 คน ในพื้นที่ รพ.สต. 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค 2) ขั้นพัฒนารูปแบบ (Think) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน 10 รพ.สต. แห่งละ 1 คน รวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบฯ 3) ขั้นการประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบฯ (Act) กลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือเป็นชุดเดียวกับขั้นค้นหาปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงอยู่ในระดับเป็นปัญหา ส่วนพฤติกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอยู่ในระดับไม่ดี อีก 2 กลุ่มเสี่ยงอยู่ในระดับเสี่ยง 2) พัฒนา PHR Model ที่ประกอบด้วย Personal Agreement: P หรือ การจัดทำข้อตกลงบุคคล Health Literacy: H หรือการสร้างความรอบรู้ และ Reinforcement: R หรือการเสริมแรง โดยรูปแบบฯ นี้ทดสอบแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 3) การประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบฯ (Act) พบว่า หลังดำเนินการตามรูปแบบฯ ได้ 3 เดือน ทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับเป็นปัญหา ส่วนพฤติกรรมฯ นั้น ทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้น โดยกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับเสี่ยง ส่วนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับดี เมื่อนำมาเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงานตามรูปแบบฯ พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ส่วนพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมฯ สูงกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 25 มีเดีย จำกัด; 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2564 วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2564. เอกสารอัดสำเนา.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2566 วันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2566. เอกสารอัดสำเนา.
ชุลีพร หีตอักษร, รุ่งนภา จันทรา, อัศนี วันชัย, จิริยา อินทนา. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย: การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(4):25-33.
อรอนงค์ บุรีเลิศ, นพรัตน์ ส่งเสริม, ภัทรภร เจริญบุตร. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2561; 4(2):20-9.
ประภาสวัชร์ งามคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนไทยในเขตปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2557; 6(2):21-30.
ศิริเนตร สุขดี. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.
แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559; 25(3):43-54.
อรรถพล ศรีประภา. กระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายในชุมชนตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
Stringer ET. Action Research. 4th edition. California: SAGE; 2014.
กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ สำหรับกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2556.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine; 2008.
Sorensen K. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definition and models. BMC Public Health; 2012.
ลักษณา ทรัพย์สมบูรณ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2551.
ไชยยา จักรสิงห์โต. ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 5th edition. Jurong, Singapore: Pearson; 2006.
Ryan P, Swin KJ. The Individual and Family Self-Management Theory: Background and Perspectives on Context, Process, and Outcomes. Nursing Outlook 2009; 57:217-25.
Schaffer MA. Social support. In Peterson, Bredow T.S. (Ed.). Middle range theories, Application to nursing research. 1st edition. Philadelphia: Lippincott: Williams & Wilkins; 2004.
Edwards M, Wood F, Davies M, Edwards M. The development of health literacy in patients with a long-term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health; 2012.
วงเดือน พระนคร, พิชญ์สินี แสนเสนยา, อรรถพล ศรีประภา. การสร้างธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2564; 3(2):253-65.
วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
มงคล การุณงามพรรณ, สุดารัตน์ สุวารี. เสริมสร้างพลังอำนาจในตน ลดความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง: บทบาทสำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559; 36(3):222-33.
ภัสพร ขำวิชา, เพ็ญศิริ สันตโยภาส, ภัทร์ธนิดา ศรีแสง, กาญจนา กิริยางาม. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้มีความดันโลหิตสูงในชุมชนซอยโจ๊ก เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์ 2557; 21(2):83-96.
ชัญญา วงหาญ, พรพิมล เนตรแสงศรี, เอกพล นิลเกตุ. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลรัตนวาปี อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561; 1(1):13-25.
วิรัติ ปานศิลา. รายงานวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านในการบริโภคอาหารของชาวอีสาน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
ประชุมพร กวีกรณ์, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 4(3):307-24.
เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 5 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ]. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการต่างประเทศ; 2556.
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, หทัยชนก บัวเจริญ, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, โสมนัส ว่องไววุฒิกุลเดช, พัชรินทร์ กลิ่นสุคนธ์, สุมานี ศรีกำเนิด และคณะ. การประยุกต์ทฤษฎีการตั้งหมายร่วมกันในกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2551; 22(2):1-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว