การประเมินระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ และคุณภาพในการให้การดูแลรักษาการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • ภาณุวัฒน์ โสภณเลิศพงศ์ โรงพยาบาลเกาะช้าง จังหวัดตราด
  • ทรงวิทย์ ภิรมย์ภักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, แมงกะพรุนพิษ

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ คุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ รวมถึงคุณภาพในการให้การดูแลรักษาการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดตราด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ผลการศึกษา พบว่าระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด จัดทำโดยใช้แบบฟอร์ม JF-Trat และจัดส่งผ่านกลุ่มไลน์ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากพบผู้ป่วย โดยระบบเฝ้าระวังเชิงปริมาณ พบว่า มีความไวของการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คือ ร้อยละ 74.82 แต่ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในเกณฑ์ดีเท่ากับ ร้อยละ 100 ค่าความถูกต้องของตัวแปร เพศ อายุ สถานที่เกิดเหตุการณ์ อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 100 ส่วนความทันเวลาส่วนใหญ่รายงานได้ภายใน 48 ชั่วโมง แต่ต้องมีการปรับระบบรายงานให้มีการบันทึกเวลาที่ชัดเจน ระบบเฝ้าระวังเชิงคุณภาพ พบว่า การเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด ได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุขและเครือข่ายผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ง่ายต่อการปฏิบัติ มีความยืดหยุ่น สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง หากมีการพัฒนา ทบทวนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนคุณภาพการรักษาพบว่า ผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องด้วยการราดน้ำส้มสายชู ร้อยละ 87.5 ทำให้ความรุนแรงของการบาดเจ็บลดลงโดยพบผู้บาดเจ็บเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) ร้อยละ 92.33

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราดเป็นระบบเฝ้าระวังที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำเนินงานจัดการระบบสุขภาพในพื้นที่เกาะและชายฝั่ง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องมีการพัฒนาความไวในการรายงาน ระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานในหน่วยงานที่ชัดเจน

References

ลักขณา ไทยเครือ, พจมาน ศิริอารยาภรณ์. การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนพิษ: เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลังเชียงใหม่; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค. 2566]. 260 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/books/09feb2022-1512

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สถานภาพแมงกะพรุนพิษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://km.dmcr.go.th/c_247/d_19705

Thaikruea L, Siriariyaporn P, Wutthanarungsanm R, Smithsuwan P. Toxic jellyfish situation in Thailand. Chiang Mai Med J 2012; 51(4):93-102.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. รายงานสถานการณ์ผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษจังหวัดตราด; 2566.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. ใน: คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, ชุลีพร จิระพงษา, บรรณาธิการ. พื้นฐานระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แคนนากราฟฟิค; 2557. หน้า 142-177.

Bloom BS, Thomas HJ, Madaus GF. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. 1st edition. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, ประสพชัย พสุนนท. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ.วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 2559; 29(2):31-48.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี; 2551.

โรจกร ลือมงคล, สุวัฒนา วงษ์ปฏิมาพร. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2561; 38(3):72-84.

Fenner PJ, Lippmann J, Gershwin L. Fatal and nonfatal severe jellyfish sting in Thai waters. Journal of Travel Medicine 2010; 17(2):133-38.

วรางคณา จันทรสุข. การประเมินระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์กรมควบคุมโรคปี พ.ศ. 2561. กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1170620211201072050.pdf

จริยาวดี สุริยพันธ์, สมถวิล จริตควร. ทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับแมงกะพรุนพิษของชุมชนริมชายฝั่งทะเลและนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี [โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

สุริยา โปร่งน้ำใจ. การบาดเจ็บจากการสัมผัสแมงกะพรุนพิษในเขตชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี: อาการทางคลินิกและมาตรการป้องกัน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2562; 14(1):142-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25